พระบรมราชานุสรณ์สถานพระบาทสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชและ'ศาลนักรบ'
เพื่อบันทึกพระมหาวีรกรรมของพระองค์และเพื่อสร้างศาลสักการะแด่ทหารหาญที่ร่วมรบร่วมกู้ชาติบ้านเมืองมากับพระองค์ทุกๆท่านโดยเฉพาะอย่างยิ่งบรรดา'นักรบ'ที่ถูกลืมทั้งหลายที่ไม่เคยได้รับการสักการะในฐานะ'นักรบผู้กู้แผ่นดิน'จะได้มีสถานที่สำหรับสถิตย์เพื่อรองรับการสักการะจากลูกหลานไทย..เสียที
ถ้าพูดถึงผู้คนในภาคตะวันออกตั้งแต่ ปราจีนบุรี นครนายก ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรีและตราดสมเด็จพระเจ้าตากสิน มหาราชคือ“มหาราชชาตินักรบ”ที่อยู่ในความทรงจำของคนภูมิภาคนี้ด้วยเหตุที่พระองค์เลือกเอาหัวเมืองชายฝั่งทะเลตะวันออกเป็นที่รวบรวมผู้คนไปกอบกู้กรุงศรีอยุธยาให้หลุดพ้นจากเงื้อมมือพม่า-รามัญ เรื่องราวต่างๆที่เกี่ยวเนื่องกับพระองค์ก่อให้เกิด“ตำนานท้องถิ่น”มากมายในภูมิภาคนี้ แต่พงศาวดารของชาติไทยกลับกล่าวถึงเหตุการณ์ช่วงนี้เพียงสั้นๆไม่กี่บันทัดเหมือนไม่ได้ให้ความสำคัญกับผู้คนที่่อยู่หัวเมืองชายฝั่งทะเลตะวันออกทั้งๆที่ตามความเป็นจริง เมื่อครั้งที่ยังเป็น“พระยาตาก”นำทัพถึงแขวงเมืองระยอง(บ้านหินโด่ง-ปัจจุบันคือบ้านสะพานหินหมู่ที่๘ ต.ทับมา)เมื่อวันที่๒๕ มกราคมพ.ศ.๒๓๑๐หรือเมื่อคุมตัวผู้รั้งเมืองระยองไว้ที่วัดลุ่มมหาชัยชุมพลเมื่อประมาณวันที่ ๒๙ มกราคม พ.ศ.๒๓๑๐นั้นพระองค์เหลือขุนทหารที่ตามกันมาแต่เมืองตากเพียง๕นายกับกองทหารอีกประมาณ๓๐๐ นายเท่านั้นพระองค์จึงไม่มีกำลังเพียงพอที่จะยึดจันทบุรีเป็นฐานที่มั่นได้
ขณะนั้นพระองค์จึงต้องใช้เวลาเกลี้ยกล่อมผู้คนในเขตแขวงเมืองระยอง ชุมชนบ้านไข้(มีนายชื่นบ้านไข้เป็นนายบ้าน)ตลอดจนผู้คนในแขวงเมืองแกลงและพื้นที่โดยรอบแขวงเมืองระยอง-เมืองแกลง อย่างระมัดระวังและอดทนเพราะทรงอยู่ท่ามกลางกองทัพถึง๓กองทัพคือนายทองอยู่ นกเล็กแห่งบางปลาสร้อย ขุนรามหมื่นซ่องแขวงเมืองแกลง และกองทัพของเมืองจันทบูร (ขณะนั้นถือว่าเป็นเมืองใหญ่ที่สุดในภูมภาคนี้)จนเมื่อผู้รั้งเมืองบางละมุงที่ได้รับมอบหมายจากพม่าให้นำหนังสือไปแจ้งแก่เมืองจันทบูรให้ถวายเครื่องราชบรรณาการได้เดินทางมาถึงเมืองระยองช่วงสิ้นเดือนเมษายน๒๓๑๐หลังกรุงศรีอยุธยาแตก(ดูรายละเอียดในเรื่องกำเนิดชุมนุมเจ้าตาก)พระองค์จึงเริ่มประกาศตนเป็น'เจ้าชุมนุม'และเปิดฉากรบกับเมืองจันทบูรโดยใช้วิธี 'ผูกมิตรตะวันตก(บางปลาสร้อย-ชลบุรี)เพื่อรบตะวันออก(แกลงและจันทบูร)'และพระองค์สามารถยึดจันทบุรีเพื่อเป็นสูญกลางของชุมนุมเจ้าตากได้ในวันที่๑๔ มิถุนายนหรือภายหลังจากได้เมืองระยองแล้วถึง๔เดือนครึ่ง
หลังจากได้เมือง“จันทบูร”เป็นที่มั่นแล้วพระองค์ยังต้องรวบรวมผู้คนต่อไปอีกเหตุเพราะขณะเมื่อพระองค์ได้เมืองจันทบูรใหม่ๆพระองค์ก็ยังไม่มีกำลังมากพอที่จะรบกับพม่า-รามัญ(กรมพระราชวังบวรมหาสุรสีหนาท ในรัชกาลพระพุทธยอดฟ้ามาสมทบที่เมืองจันทบูรนี้)จนถึงวันที่๖พ.ย.๒๓๑๐ พระองค์จึงสามารถตีค่ายโพธิ์สามต้นแตกขับไล่พวกพม่า-รามัญ ออกไปจากแผ่นดินได้ซึ่งหากนับแต่วันที่พระองค์ยกทัพออกมาจากเมืองจันทบูรแล้วจำนวนวันที่อยู่เมืองระยองก็จะใกล้เคียงกับจำนวนวันที่อยู่เมืองจันทบูรและหากนับรวมกันจะเป็นเวลา๙เดือนเศษที่พระองค์ใช้ชีวิตอยู่กับทหารหาญที่หัวเมืองชายฝั่งทะเลตะวันออกจนผู้คนในภูิมิภาคนี้มีความผูกพันกับพระองค์มากกว่าผู้คนในภูมิภาคอื่นๆ
แต่เรื่องราวต่างๆของพระองค์นั้นล้วนเป็นปริศนาเริ่มตั้งแต่ชาติกำเนิด รูปร่างหน้าตาจนถึงกรณีสวรรคต ล้วนเป็นปริศนาที่ยังไม่มีข้อยุติทำให้บรรดาลูกหลานของผู้คนในภูมิภาคนี้ได้ค้นคว้าและศึกษาในทุกๆสิ่งที่เกี่ยวกับพระองค์โดยต่างฝ่ายต่างค้นคว้ากันไปจนเมื่อประมาณปี พ.ศ.๒๕๓๐ได้เกิดมีการรวมกลุ่มขึ้นมาศึกษาร่วมกันในขั้นต้นนั้นมี ๑พระสงฆ์กับอีก๒ฆารวาส ซึ่งหนึ่งนั้นเป็นครูอยู่เมืองแกลง อีกหนึ่งนั้นเป็นทนายความอยู่เมืองระยองทั้ง๓นั้นเจอกันทีไรไม่พ้นเรื่อง“เจ้าตาก” บางครั้งแลกเปลี่ยนพูดคุยตั้งแต่บ่ายไปแยกย้ายเอาตอน๒-๓นาฬิกาของอีกวันต่อมาและได้มีสมาชิกร่วมวงสนทนามากขึ้นเรื่อยๆ โดยหัวข้อการโต้แย้งในเรื่องที่ปรากฏในพงศาวดารนั้นถือเป็นเรื่องปกติธรรมดามากๆ
แต่ท้ายที่สุดได้มีการตกลงกันว่าทั้งสาม(คณะ) นั้นต้องค้นคว้าหาหลักฐานที่ยังไม่พบในประวัติศาสตร์ให้ได้อย่างน้อยคณะละ๑อย่าง ปรากฏว่าคณะของพระสงฆ์(ปัจจุบันเป็นเจ้าอาวาส)กับกำนันวิรัช คชสารและผู้ใหญ่สมชาย ทรัพย์สินหมู่ที่๘ต.ทับมาได้ข้อสรุปเรื่องแรกก่อนใครเพื่อน คือคณะนี้ได้ข้อสรุปเส้นทางเดินทัพในจุดที่เรียกว่า“บ้านหินโด่ง” ซึ่งอยู่ในบริเวณที่เป็นศาลเจ้าพ่อกระบองทองหมู่ที่๘.ต.ทับมาในปัจจุบัน แต่หินที่ว่า(ภายหลังเป็นสะพานหิน)นั้นจมอยู่ใต้ดินเสียแล้ว ซึ่งก็ต้องเป็นหน้าที่ของพวกเราที่จะต้องหาวิธีนำขึ้นมาให้ลูกหลานไทยได้ชมกัน
คณะต่อมาคือคณะของทนายความกับกลุ่มของลูกชายซึ่งโดยส่วนตัวของทนายเองนั้นได้เริ่มศึกษาค้นคว้าอย่างจริงจังมาตั้งแต่ปีพ.ศ. ๒๕๒๘แล้วเมื่อมีผู้อาสาเข้ามาช่วยจึงได้ข้อสรุปในเรื่องที่สำคัญคือ“พระบรมสาทิสลักษณ์”ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (อ่านเรื่องพระพักตร์ที่แท้จริง-กด)เพื่อให้เป็นข้อยุติเพียงหนึ่งเดียวในปัจจุบันซึ่งก็ได้พิมพ์แจกฟรี ไปแล้ว๒ ขนาด คือ ขนาด๑๕x๒๐นิ้ว และ๒๐x๓๐นิ้ว(ไม้บรรทัดปกติยาว๑๒นิ้ว)ชุดแรกรวมห้าพันแผ่นนั้นแจกหมดไปแล้ว ขณะนี้มีผู้ยื่นคำขอมามากมายแต่ยังไม่ได้พิมพ์ออกมา เพราะได้มีการประชุมกันขึ้นในหมู่คณะ (มีรองผู้ว่าฯที่เป็นคนระยองท่านหนึ่งเป็นประธาน)ได้มีความเห็นว่า ถึงเวลาที่เราควรจะร่วมใจกันกับประชาชนทั่วไปสร้างสิ่งที่เป็นถาวรวัตถุบอกเล่าเรื่อราวต่างๆของพระองค์และที่สำคัญ “นักรบไร้อนุสาวรีย์”ทั้งหลายที่ร่วมกู้ชาติบ้านเมืองมากับพระองค์นั้นสมควรมีสิ่งสักการะที่จารึกถึงวีรกรรมของพวกท่านด้วยจึงเป็นที่มาของ“พระบรมราชานุสรณ์สถาน” ดังที่จะบรรยายสรุปดังต่อไปนี้
(ดูแบบแปลนและรายละเอียดทั้งหมด กด)
.
..
.