บทความ

ราชวงศ์ธนบุรี
                                  
        เมื่อครั้งผลัดแผ่นดินเป็นรัตนโกสินทร์นั้นพระราชโอรสและพระราชธิดาของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชที่ทรงพระเยาว์อยู่นั้นมิได้ประหารถูกตามไปด้วย แต่โปรดให้ลดยศเป็นบุคคลธรรมดาแต่ผู้คนยังเรียกหม่อมอยู่ด้วยความเคารพ บุตรหลานที่เป็นชายส่วนใหญ่ก็โปรดให้รับราชการต่อ ฝ่ายหญิงส่วนใหญ่จะเป็นพระชายาหรือเจ้าจอมหม่อมห้ามของเชื้อพระวงศ์ชั้นสูงจึงได้ผสมกลมกลืนกับราชวงศ์จักรีจนแยกไม่ออก ผู้ที่มีความชอบมากก็จะเป็นขุนนางผู้ใหญ่โดยเฉพาะทายาทของพระมหาอุปราชสมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนอินทรพิทักษ์(เจ้าจุ้ย)ท่านหนึ่งรับราชการจนได้เป็นถึงผู้สำเร็จราชการแผ่นดินร่วมกับพระองค์เจ้ารังสิตเมื่อครั้งพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลรัชกาลที่.๘
                        

                              
พระราชวงศานุวงศ์กรุงธนบุรี
ตอนที่.๑
๑.พระราชบิดาสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีตามที่กล่าวไว้ในหนังสืออภินิหารบรรพบุรุษว่าเป็นขุนพัฒน์นามเดิมไหยฮอง ตั้งภูมิลำเนาอยู่ในพระนครศรีอยุธยาแต่ยังไม่พบหลักฐานที่อื่นสนับสนุน

๒.สมเด็จพระราชชนนีพระนามเดิมว่าเอี้ยงดำรงพระราชอิสริยยศเป็นกรมหลวงพิทักษ์เทพามาตย์สวรรคตวันอังคารเดือน๘ขึ้น๖ค่ำ พ.ศ.๒๓๑๗ดูจดหมายเหตุฉบับลงวันอังคารเดือน๖ แรม๒ค่ำปีมะแมจ.ศ.๑๑๓๗(พ.ศ.๒๓๑๘)และหมายรับสั่งลงวันศุกร์เดือนอ้ายขึ้น๑๒ค่ำ จ.ศ.๑๑๓๙( พ.ศ.๒๓๑๙)

๓.สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีมีพระบรมนามาภิไธยเมื่อปราบดาภิเษกแล้วตามที่ปรากฏในศุภอักษรเสนาบดีกรุงธนบุรีซึ่งกำกับพระราชสารไปยังกรุงศรีสัตนาคนหุต ออกพระนามว่าพระศรีสรรเพ็ชญ์ สมเด็จบรมธรรมิกราชาธิราชรามาธิบดี
  ออกพระนามในศุภอักษรของพระเจ้าประเทศราชว่าสมเด็จพระเอกาทศรศรฐ
  ออกพระนามในพระราชพงศาวดารฉบับทรงชำระในรัชกาลที่๑ว่าสมเด็จพระบรมหน่อพุทธางกูรเจ้า
       สมภพเมื่อปีขาลพ.ศ.๒๒๗๗รับราชการจนได้เป็นที่พระยาตากก่อนแล้วเลื่อนเป็นพระยากำแพงเพ็ชรเจ้าเมืองชั้นโทเพราะความชอบในการสงครามที่ต่อสู้พม่าเมื่อก่อนเสียกรุงศรีอยุธยาถึงต้นปีกุนพ.ศ.๒๓๑๐กรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่า ทรงพยายามกู้คืนจากเงื้อมมือพม่าเสร็จในปลายปีนั้นรุ่งขึ้นปีชวดพ.ศ.๒๓๑๑ณ วันอังคารเดือนอ้ายแรม๔ค่ำ
ได้ปราบดาภิเษกเมื่อถึงวันที่๖เมษายน พ.ศ.๒๓๒๕ถูกสำเร็จโทษเปลี่ยนพระราชวงศ์ใหม่ต่อมาพ.ศ.๒๓๒๗ถวายพระเพลิงพระบรมศพที่วันอินทารามบางยี่เรือธนบุรี

๔.สมเด็จพระน้านางพระนามเดิมว่าอั๋น ดำรงพระราชอิสริยยศเป็นกรมหลวงเทวินทรสุดาแผ่นดินรัตนโกสินทร์ถูกลดพระยศลงเป็นหม่อมอั๋น

๕.สมเด็จพระราชินีพระนามเดิมว่าสอนดำรงพระราชอิสริยยศเป็นกรมหลวงบาทบริจา แผ่นดินรัตนโกสินทร์ถูกลดพระยศลงเป็นหม่อมสอน
                         

                             
พระราชโอรสธิดา ๒๙ พระองค์

         (๑)สมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนอินทรพิทักษ์(พระมหาอุปราช)พระนามเดิมว่าเจ้าจุ้ยที่๑ในสมเด็จพระราชินีดำรงพระราชตำแหน่งรัชทายาทถูกสำเร็จโทษวันเสาร์เดือน๖แรม.๘ค่ำ พ.ศ.๒๓๒๕และในการนี้บุตรและธิดาทั้งหลายของกรมขุนอินทรพิทักษ์ไม่ได้ถูกประหาร เลยเหลือสืบสกุลสายตรงเป็นสกุล“สินสุข”และ“อินทรโยธิน”กรมขุนอินทรพิทักษ์-เจ้าฟ้าจุ้ยมีธิดา๒บุตรชาย๒ 
     ๑.๑ คุณหญิงมะเดื่อ เป็นหม่อมห้ามในกรมหมื่นนราเทเวศร์พระโอรสพระองค์ใหญ่ในการพระราชวังบวรสถานพิมุข(วังหลัง)มีโอรสต่อกันคือ
            หม่อมเจ้าชายเศรษฐ  
ปาลกะวงศ์ณ อยุธยา
            หม่อมเจ้าชายจักรจัน ปาลกะวงศ์ณ อยุธยา
            หม่อมเจ้าหญิง ไม่ปรากฏพระนามปาลกะวงศ์ณ อยุธยา
     ๑.๒ คุณหญิงสาลี่เป็นหม่อมห้ามในกรมหลวงเสนีบริรักษ์พระโอรสพระองค์ เล็กในกรมพระราชวังบวรสถานพิมุข(วังหลัง)มีโอรสต่อกันคือ
            หม่อมเจ้าชายจุ้ย(จิ๋ว)
เสนีวงศ์ ณ อยุธยา
            หม่อมเจ้าชายไม่ปรากฏพระนามเสนีวงศ์ ณ อยุธยา
            หม่อมเจ้าหญิงไม่ปรากฏพระนาม เสนีวงศ์ ณ อยุธยา
         ๑.๓เจ้าชายทองอินบุตรชายคนเล็กเป็นเจ้าพระยากลาโหมราชเสนาคนที่๓ของวังหน้าพระองค์ที่๒ ในรัชกาลที่๑ คือสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร(พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยและคงเป็นเจ้าพระยากลาโหมวังหน้าในรัชกาลที่๒ ต่อไปเพราะปรากฏว่าเมื่อสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนารุรักษ์ วังหน้ารัชกาลที่๒ท่านเสด็จขึ้นเป็นวังหน้าขุนนางวังหน้ามิได้เปลี่ยนแปลง
         
เจ้าพระยากลาโหมราชเสนา(เจ้าชายทองอิน)ไม่มีบุตรหญิงเลยมีแต่บุตรชายล้วนๆ ๕ คน บุตรชายที่ ๑-๔ รับราชการเป็นขุนนางในราชสำนัก 
         ๑.๓.๑ บุตรคนที่ ๔ ของเจ้าชายทองอินชื่อ”คุณชายสุข”ได้เป็นพระยาเพชรบุรี นำทัพไปรบในสมัยรัชกาลที่๓และได้เป็นเจ้าพระยายมราช(สุข สินสุข)ในสมัยรัชกาลที่๔ เป็นต้นตระกูล“สินสุข”
        
๑.๓.๒ คนสุดท้องชื่อคุณชายนุดไม่ได้รับราชการ แต่หลานปู่ของท่านเป็นเจ้าพระยาพิชเยนทรโยธิน(อุ่ม)ในรัชกาลที่๗ซึ่งเมื่อแรกพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯพระราชทานนามสกุลว่า“อินทรโยธินตามชื่อของเจ้าพระยากลาโหมราชเสนา
          แต่ต่อมาเมื่อเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.๒๔๗๕ ทางการให้เลิกบรรดาศักดิ์ขุนนางเจ้าพระยาพิชเยนทรโยธินจึงใช้ราชทินนามของ ท่านเป็นนามสกุลว่า
“พิชเยนทรโยธิน” แต่ญาติพี่น้องยังคงใช้นามสกุล 'อินทรโยธิน'ดังเดิม เจ้าพระยาพิชเยนทรโยธิน(อุ่ม)เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในรัชกาลที่. ๘(กับพระองค์เจ้ารังสิต)
 

(๒)สมเด็จฯเจ้าฟ้าชายน้อยที่๒ในสมเด็จพระราชินีถูกสำเร็จโทษ พ.ศ.๒๓๒๕
 

(๓)พระองค์เจ้าชายอัมพวันในเจ้าจอมมารดาทิม(ธิดาท้าวทรงกันดาลมอญ)
           ๓.๑.คุณหญิงแสง ธิดาคนโตของ
พระองค์เจ้าอัมพวันได้เป็นชายาของพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระพิทักษ์เทเวศร์ต้นราชสกุลกุญชร ณ อยุธยากรมพระพิทักษ์เทเวศร์ทรงเป็นพระราชโอรสพระองค์ที่.๒๒ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงรับราชการกำกับกรมม้าและได้รับทรงกรมเป็นกรมหมื่นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯครั้นถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯโปรดให้เลื่อนพระยศเป็นกรมพระและได้กำกับกรมพระคชบาล อีกตำแหน่งหนึ่ง
           คุณหญิงแสงประสูติโอรสและธิดาคือ
              ๓.๑.๑  หม่อมเจ้าหญิงลมุน
กุญชร ณ อยุธยา
              ๓.๑.๒. หม่อมเจ้าสิงหนาท กุญชร ณ อยุธยา
หม่อมเจ้าสิงหนาทได้รับราชการในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปิยะมหาราช ได้ทรงบัญชาการกรมพระอัศวราช กรมมหรสพ และได้รับสถาปนาขึ้นเป็นพระองค์เจ้ามีพระนามว่าพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าสิงหนาทราชดุรงคฤทธิ์พระองค์เป็นพระบิดาของเจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์(หม่อมราชวงศ์หลาน กุญชร)ผู้บัญชาการกรมม้าและกรมมหรสพ
           ๓.๒.คุณหญิงพึ่งธิดาคนที่๔ของพระองค์เจ้าอัมพวันได้เป็นชายาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมขุนราชสีหวิกรม
ต้นราชสกุลชุมสาย ณ อยุธยาพระราชโอรสพระองค์ที่๒๑ในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯเมื่อครั้งเป็น“พระองค์เจ้าชุมสาย”ทรงประทับทรงงานที่วังท่าพระทรงเป็นเจ้านายที่มีพระนิสัยดุเอาจริงเอาจังกับ หน้าที่ราชการได้ทรงรับราชการสนองพระเดชพระคุณสมเด็จพระบรมชนกนาถพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าจ้าอยู่หัว ต่อมาจนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯทรงมีพระอัธยาศัยเฉกเช่นเดียวกับ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวคือโปรดงานก่อสร้างขนาดใหญ่ที่ไม่เน้น รายละเอียดวิจิตรตระการตามากนักทรงมีความสามารถในการคำนวณตามแบบสถาปัตยกรรม ไทยได้ทรงกำกับราชการกรมช่างศิลาและกรมช่างสิบหมู่
  

(๔)สมเด็จเจ้าฟ้าชายทัศพงษ์ที่๑ในกรมบริจาภักดีศรีสุดารักษ์(เจ้าหญิงฉิม ของเจ้าพระยานครศรีธรรมราช)
        ในแผ่นดินสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้เจ้าฟ้าทั้งสาม พระองค์คือเจ้าฟ้าชายทัศพงษ์เป็นที่พระพงศ์นรินทร์เจ้าฟ้าชายทัศไภยเป็นที่ พระอินทรอำไพและเจ้าฟ้านเรนทรเป็นที่พระนเรนทร์ราชามีเกียรติยศสูงมากได้ เดินต่อจากเสนาบดีในรัชกาลที่.๑ เมื่อคราวสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้ากรมขุนเสนานุรักษ์พระบัณฑูรน้อยทรงผนวช ก็ได้โปรดเกล้าฯ ให้พระพงศ์นรินทร์บวชต่อท้ายกระบวนเล่ากันว่าไม่เคยมีการทรงผนวชคราวใดใน กรุงสยามที่ใหญ่โตและสนุกสนานเหมือนคราวนี้สมเด็จพระบัณฑูรน้อยทรงพระมหา มงกุฎถัดมานักพระองค์เองเจ้าญวนซึ่งทรงเลี้ยงเป็นพระราชบุตรบุญธรรมใส่พระ ชฎามหากฐินและพระพงศ์นริทร์ ใส่พระชฎาเบี่ยงเป็น
ต้นสกุลพงษ์สิน
        ๔.๑.คุณหญิงพลับธิดาของสมเด็จเจ้าฟ้าทัศพงษ์หรือพระพงษ์นรินทร์ได้เป็นหม่อมห้ามของพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหมื่นภูมินทภักดีต้นสกุลลดาวัลย์ ณ อยุธยาเป็นพระราชโอรสพระองค์ที่๑๕ในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯทรงรับราชการกรมช่างสิบหมู่
            มีโอรส ๓ พระองค์ คือ
             ๔.๑.๑ หม่อมเจ้าสารภี
ลดาวัลย์ ณ อยุธยา
             ๔.๑.๒ หม่อมเจ้าชาย ลดาวัลย์ ณ อยุธยา
             ๔.๑.๓ หม่อมเจ้าเผือก ลดาวัลย์ณ อยุธยา
  
(๕)สมเด็จฯเจ้าฟ้าหญิงโกมล

  
(๖)สมเด็จฯ เจ้าฟ้าหญิงบุบผา
  
(๗)สมเด็จฯ เจ้าฟ้าชายสิงหรา
  
(๘)สมเด็จฯ เจ้าฟ้าชายศิลา(ไม่ทราบพระราชมารดา)
   
ในสมัยรัชกาลที่.๑โปรดให้ลดพระยศเป็นสามัญชนและให้เข้ารับราชการจนถึงรัชสมัยพระจอมเกล้าฯได้เป็น'พระยาประชาชีพ'ทรงเป็นต้นราชสกุล'ศิลานนท์'
           ๘.๑.คุณหญิงพลับธิดาสมเด็จเจ้าฟ้าชายศิลาเสกสมรสกับกรมหมื่นกษัตริย์ศรีศักดิเดช อันเป็นพระราชโอรสพระองค์ที่๘ ในสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์กับเจ้าจอมมารดาสำลีวรรณ(ราชธิดาเจ้าตาก)ครั้งเป็นพระองค์เจ้าชายพงศ์อิศเรศ ต้น ราชสกุลอิศรเสนา ณ อยุธยา
  

(๙)พระองค์เจ้าชายอรนิกาบรรพบุรุษแห่งสกุลรัตนภาณุที่.๑ในเจ้าจอมมารดาอำพันธิดาของอุปราชจันทร์เมืองนครศรีธรรมราชเมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงตีได้เมืองนครศรีธรรมราชแล้วได้ทรงโปรดให้เจ้าเมืองนครศรีธรรมราช(หนู)และอุปราชจันทร์เข้ามารับราชการในกรุงธนบุรีต่อมาถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯท่านได้รับราชการในกรมคชบาลเป็นที่พระยาราชวังเมืองแล้วได้เป็นเจ้าเมืองถลางและได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นเจ้าพระยาสุรินทราชาและภายหลังเมื่อเจ้าพระยามหาเสนา(ปลี)สมุหพระกลาโหมถึงแก่อสัญกรรมทรงมีพระราชประสงค์จะให้เจ้าพระยาสุรินทราชาเข้ามาเป็นสมุหพระกลาโหมแทนแต่เจ้าพระยาสุรินทราชาขอรับราชการเป็นเจ้าเมืองถลางต่อไปด้วยอายุมากแล้วท่านเป็นต้นสกุล'จันทโรจนวงศ์' 
พระองค์เจ้าชายอรนิกาถูกสำเร็จโทษต้นรัชกาลที่๒ คือวันพุธขึ้น๕ค่ำเดือน๑๐พ.ศ.๒๓๕๒พร้อมกับกรมขุนกษัตรานุชิต
  

(๑๐)พระองค์เจ้าหญิงสุมาลี
  
(๑๑)พระองค์เจ้าชายธำรง
  
(๑๒)พระองค์เจ้าชายละมั่ง ในรัชกาลที่ ๓เป็นพระยาสมบัติบาล
  
(๑๓)สมเด็จฯเจ้าฟ้าชายเล็ก (แผ่นดินไหว)
  
(๑๔)สมเด็จฯ เจ้าฟ้าชายทัศไภย ที่.๒ในกรมบริจาภักดีศรีสุดารักษ์(เจ้าฉิม)ในแผ่นดินสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกโปรดให้สมเด็จเจ้าฟ้าชายทัศไภยเป็นที่ 'พระอินทร์อภัย'ที่หม่อมราชนิกุลรับราชการในราชสำนักมีเกียรติยศสูงมากได้เดินต่อจากเสนาบดีในรัชกาลที่.๑และด้วยหน้าที่ทางการแพทย์ที่มีความสนิทคุ้นเคยและเข้านอกออกในได้ทำให้มีสัมพันธ์สวาทกับเจ้าจอมในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยเมื่อโปรดให้ไตร่สวนได้ความเป็นสัตย์จึงโปรดให้ประหารชีวิตเสียทั้งพระอินทร์อภัยและเจ้าจอมเมื่อเดือน๑๐ปีวอก พ.ศ.๒๓๕๕
  
๑๔.๑เจ้าจอมมารดาน้อยธิดาองค์ที่สองของพระอินทร์อภัยได้เป็นเจ้าจอมของสมเด็จพระจอมเกล้าฯตั้งแต่ก่อนทรงผนวชทรงมีพระราชโอรส๒ พระองค์คือ
     พระองค์เจ้านพวงศ์กรมหมื่นมเหศวรศิววิลาส
ต้นราชสกุลนพวงศ์ ณ อยุธยา
     พระองค์เจ้าสุประดิษฐ์กรมหมื่นวิษณุนาถนิภาธรต้นราชสกุลสุประดิษฐ์ ณ อยุธยา
     พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหมื่นมเหศวรศิววิลาสเมื่อแรกประสูติมีพระยศเป็น”หม่อมเจ้านพวงศ์”หรือนภวงศ์ เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นครองราชย์แล้วโปรดให้เลื่อนพระยศเป็นพระองค์เจ้ามีพระนามตามพระสุพรรณบัฏว่า'พระองค์เจ้านพวงศ์วรองค์เอกอรรคมหามกุฎปรมุตมราโชรส'และได้รับสถาปนาเป็นพระองค์เจ้าต่างกรมมีพระนามว่า'พระเจ้าลูกเธอกรมหมื่นมเหศวรศิววิลาส'ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯมิได้รับราชการใดๆแต่มาถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯพระบรมชนกนาถได้ทรงเป็นผู้กำกับกองทหารล้อมวังและเช่นกันกับพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหมื่นวิษณุนาถนิภาธรเมื่อแรกประสูติมีพระยศเป็น ”หม่อมเจ้าสุประดิษฐ์”เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯเสด็จครองราชย์แล้วทรงโปรดให้เลื่อนพระยศเป็น'พระองค์เจ้าสุประดิษฐ์วรฤทธิราชมหามกุฎบุรุษยรัตนราชวโรรส'และเป็นพระองค์เจ้าต่างกรมทรงพระนามว่าพระเจ้าลูกเธอกรมหมื่นวิษณุนาถนิภาธรซึ่งได้ทรงกำกับราชการกรมพระคลังสมบัติ
    

(๑๕) พระองค์เจ้าหญิงจามจุรี
    
(๑๖) พระองค์เจ้าหญิงสังวาล
    
(๑๗) พระองค์เจ้าหญิงสำลีวรรณเป็นที่๒ในเจ้าจอมมารดาอำพัน ธิดาคนเดียวของอุปราชจันทร์เมืองนครศรีธรรมราช(ต้นสกุล'จันทโรจนวงศ์')พระองค์เจ้าหญิงสำลีวรรณเป็นพระราชชายาสมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์พระอนุชาธิราชแห่งองค์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่.๒ทรงเสกสมรสกับสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์แต่ครั้งยังดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ากรมหลวงเสนานุรักษ์ต้นราชสกุล อิศรเสนา ณ อยุธยาพระองค์เจ้าหญิงสำลีวรรณ ถูกสำเร็จโทษวันพุธ เดือน๑๐ขึ้น ๕ค่ำพ.ศ.๒๓๕๒พร้อมกับสมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนกษัตรานุชิต     
       พระองค์เจ้าสำลีวรรณประสูติพระราชโอรสและพระราชธิดา๖พระองค์ประกอบด้วย
    ๑๗.๑.พระองค์ชายใหญ่
อิศรเสนา ณ อยุธยาสิ้นพระชนม์แต่ทรงพระเยาว์
    ๑๗.๒.พระองค์เจ้าหญิงประชุมวงศ์
อิศรเสนา ณ อยุธยา
    ๑๗.๓.พระองค์เจ้าหญิงนัดดาอิศรเสนา ณ อยุธยา
    ๑๗.๔.พระองค์เจ้าหญิงขนิษฐาอิศรเสนา ณ อยุธยา
    ๑๗.๕.พระองค์เจ้าชายพงศ์อิศเรศอิศรเสนา ณ อยุธยา
    ๑๗.๖.พระองค์เจ้าหญิงนฤนลอิศรเสนา ณ อยุธยา
       พระองค์เจ้าชายพงศ์อิศเรศ กรมหมื่นกษัตริย์ศรีศักดิเดชเป็นพระราชโอรสพระองค์ที่.๘ในสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์ประสูติเมื่อเดือนพฤศจิกายนปีวอก พ.ศ.๒๓๔๓ทรงเป็นพระราชโอรสที่สมเด็จพระราชบิดาโปรดปรานยิ่งนักด้วยทรงเป็น“ หลานปู่'ของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯและทรงเป็น'หลานตา'ของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงเป็นเจ้านายฝ่ายหน้าพระองค์เดียวที่เป็นพระราชนัดดาของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ถึงปีจอ พ.ศ. ๒๔๐๕พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯทรงพระกรุณาให้สถาปนาพระองค์เจ้าพงศ์อิศเรศเป็นพระเจ้าราชวงศ์เธอกรมหมื่นกษัตริย์ศรีศักดิเดชซึ่งทรงเป็นต้นราชสกุลอิศรเสนา ณ อยุธยามีชายาคือคุณหญิงพลับธิดาสมเด็จเจ้าฟ้าชาย”ศิลา”พระราชโอรสองค์ที่.๘ของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
       พระเจ้าราชวงศ์เธอกรมหมื่นกษัตริย์ศรีศักดิเดชและคุณหญิงพลับ      
                มีพระโอรส ๓ พระองค์ คือ
          หม่อมเจ้ากระจ่าง
อิศรเสนา ณ อยุธยา
          หม่อมเจ้าจันตรี  อิศรเสนา ณ อยุธยา
          หม่อมเจ้าเสาวรส อิศรเสนา ณ อยุธยา
       หม่อมเจ้าเสาวรสเป็นบิดาของเจ้าพระยาวรพงษ์พิพัฒน์(หม่อมราชวงศ์เย็น อิศรเสนา)เสนาบดีกระทรวงวังในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ
 

(๑๘)สมเด็จฯเจ้าฟ้านเรนทรราชกุมารที่.๓ในกรมบริจาภักดีศรีสุดารักษ์(เจ้าหญิงฉิม)
       ในแผ่นดินสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้เจ้าฟ้านเรนทรเป็นที พระนเรนทร์ราชามีเกียรติยศสูงมากได้เดินต่อจากเสนาบดีในรัชกาลที่.๑ดำรงพระ ชนม์มาถึงรัชกาลที่.๓
เป็นต้นสกุลรุ่งไพโรจน์
 
(๑๙)พระองค์เจ้าชายคันธวงศ์

 
(๒๐)พระองค์เจ้าชายเมฆิน
 
(๒๑)พระองค์เจ้าชายอิสินธร
 
(๒๒)พระองค์เจ้าหญิงประไพพักตร์ (ในเจ้าจอมมารดาเงิน)

  .
(๒๓)สมเด็จฯเจ้าฟ้าชายสุพันธุวงศ์(เจ้าฟ้าเหม็น)ในเจ้าจอมมารดาฉิมใหญ่(พระราชธิดาในสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก)

       สมัยรัชกาลที่๑กรุงรัตนโกสินทร์เป็นสมเด็จพระเจ้าหลานเธอเจ้าฟ้าอภัยธิเบศร์ ต่อมาได้ทรงกรมเป็นกรมขุนกษัตรานุชิตทรงสถาปนาวัดอภัยธารามสามเสน (วัด มะกอก)เมื่อจะเริ่มรัชกาลที่.๒วันพุธเดือน๑๐ขึ้น๕ค่ำ พ.ศ.๒๓๕๒ถูกสำเร็จโทษพร้อมกับเจ้าชายที่เป็นโอรสเล็กๆอีก๖พระองค์ เจ้าฟ้ากรมขุนกษัตรานุชิตแม้จะปรากฏว่าหลักฐานพระโอรสทั้งหมดถูกถ่วงน้ำแต่ก็ปรากฏแจ้งใน'นามสกุลพระราชทาน'ว่านามสกุล'อภัยกุล'ว่าผู้ที่ขอพระราชทานคือหม่อมหลวงแฉล้ม ว่าสืบสกุลมาจากเจ้าฟ้าอภัยธิเบศร์'พระนามอภัยธิเบศร์”นี้ ในสมัยรัตนโกสินทร์ก็มีเพียงองค์เดียวคือเจ้าฟ้าเหม็นหรือเจ้าฟ้าสุพันธุวงศ์
       

(๒๔)พระองค์เจ้าชายบัว
       
(๒๕)สมเด็จฯเจ้าฟ้าปัญจปาปีที่๔ ในกรมบริจาภักดีศรีสุดารักษ์(เจ้าหญิงฉิม)ได้ทรงเสกสมรสกับสมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนอิศรานุรักษ์ พระโอรสในสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์ ซึ่งเป็นพระพี่นางองค์น้อยในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกและเจ้าขรัวเงิน สมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนอิศรานุรักษ์ทรงรับราชการกำกับกรมมหาดไทยในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงเป็นต้นราชสกุลอิศรางกูร ณ อยุธยา มีพระโอรสพระธิดา ๕ พระองค์ประกอบด้วย
                  ๒๕.๑ หม่อมเจ้าใหญ่ อิศรางกูร ณ อยุธยา
                  ๒๕.๒ หม่อมเจ้ากลาง อิศรางกูร ณ อยุธยา
                  ๒๕.๓ หม่อมเจ้าหญิงศรีฟ้า อิศรางกูร ณ อยุธยา
                  ๒๕.๔ หม่อมเจ้าสุนทรา อิศรางกูร ณ อยุธยา
                  ๒๕.๕ หม่อมเจ้าหญิงรสสุคนธ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา

       
(๒๖)เจ้าพระยานครศรีธรรมราช(น้อย)ในเจ้าจอมมารดาเจ้าหญิงปราง กนิษฐาภคินีของกรมบริจาภักดีศรีสุดารักษ์(เจ้าหญิงฉิม)เจ้าพระยานครฯ(น้อย)เป็นต้นตระกูล“ณ นคร”“โกมารกุล ณ นคร”“จาตุรงคกุล”  
              ๒๖.๑คุณน้อยใหญ่บุตรชายใหญ่ได้เป็นนายศัลวิไชยมหาดเล็กหุ้มแพรเหมือนบิดาได้ สมรสกับคุณหญิงเผือกธิดาสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์(ดิศบุนนาค)ภายหลัง ได้เป็นท่านผู้หญิงนายศัลวิไชย(น้อยใหญ่)ต่อมากลับไปเป็นปลัดเมืองนครได้ เป็นที่พระเสน่หามนตรีแล้วเลื่อนเป็นพระยาพัทลุงแต่เกิดการไม่ปรองดองกับ เจ้าพระยานคร(น้อย)ผู้เป็นบิดาเจ้าพระยานครฯ(น้อย)ขอพระราชทานให้บุตรคนรอง ลงมาชื่อ“น้อยกลาง”ซึ่งเวลานั้นเป็นพระเสน่หามนตรีปลัดเมืองนครได้แทนที่ชาย ใหญ่เป็นพระยานครสืบสกุลแทนตัวท่านสมเด็จพระนั่งเกล้าทรงพระราชดำริว่าพระยา พัทลุงเป็นพี่ชายใหญ่อยู่ทางนั้นไม่ได้สืบสกุลเป็นพระยานครก็คงจะเกิดการ วิวาทบาดหมางกันจึงโปรดฯให้พระยาพัทลุง(น้อยใหญ่)เป็นที่พระยาอุทัยธรรมเข้า มารับราชการอยู่ในกรุงเทพฯและได้เป็นที่เจ้าพระยามหาศิริธรรมผู้รักษากรุง ศรีอยุธยาในรัชกาลสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นสกุล
“โกมารกุล ณ นคร”
             ๒๖.๒คุณน้อยเอียด”บุตรชายคนเล็กเข้ามารับราชการอยู่ในกรุงเทพ ฯ ได้วิวาห์กับคุณเสงี่ยมธิดาพระพงศ์นรินทร์ (สมเด็จเจ้าฟ้าทัศพงษ์พระราชโอรสสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีมหาราช)กับคุณหญิง จันธิดาเจ้าคุณหญิงแก้ว(ต้นราชนิกุลณ บางช้าง)ซึ่งเป็นพระน้องนางคนเล็กของสมเด็จพระอัมรินทราบรมราชินีในรัชกาล ที่๑ภายหลังคุณน้อยเอียดได้เป็นที่พระยาเสน่หามนตรีปลัดเมืองนครตามลำดับ ส่วนคุณหญิงเสงี่ยมเสน่หามนตรีนั้นเคยเป็นพระพี่เลี้ยงในสมเด็จพระจุลอม เกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อทรงพระเยาว์ภายหลังเมื่อพระยาเสน่หามนตรีถึงแก่กรรม แล้วได้กลับเข้าไปอยู่ในพระบรมราชวังกับทูลกระหม่อมแก้ว(สมเด็จกรมพระยาสุดา รัตนราชประยูร)อีกจนสิ้นชีพสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดปรานมากตรัส เรียก ว่า“คุณหรัดน้อย”พระยาเสน่หามนตรี(น้อยเอียด)และคุณหญิงเสงี่ยมเป็นต้นสกุล”จาตุรงคกุล”
       เจ้าพระยานคร(น้อย)ได้ถวายธิดาเกือบจะทุกคนเป็นเจ้าจอมในรัชกาลที่๓และที่๔คือ
          ๒๖.๓ เจ้าจอมมารดาน้อยใหญ่หรือท่านหญิงน้อย ธิดาคนโตของท่านได้เป็นเจ้าจอมมารดาในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯประสูติพระ ราชโอรส คือ
             ๒๖.๓.๑ พระองค์เจ้าเฉลิมวงศ์
          ๒๖.๔  เจ้าจอมมารดาบัวธิดาคนที่.๑๓เป็นเจ้าจอมมารดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯประสูติพระราชโอรส พระราชธิดาประกอบด้วย
             ๒๖.๔.๑. พระองค์เจ้าเฉลิมลักษณเลิศ มีพระชันษา ๒ ปี ก็สิ้นพระชนม์
             ๒๖.๔.๒  พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีสิทธิธงไชย กรมขุนสิริธัชสังกาศพระนามเดิมพระองค์เจ้าศรีสิทธิธงไชย 
       พระองค์เจ้าศรีสิทธิธงไชยทรงรับราชการใน
สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทำ การปฏิสังขรณ์หอพระมณเฑียรธรรมเป็นพนักงานรับบัญชีและนำฏีกาที่ราษฏรร้องทุกข์ทูลเกล้าฯถวายทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สถาปนาขึ้นเป็นกรมหมื่น สิริธัชสังกาศเมื่อ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๒๖
        พ.ศ.๒๔๒๙สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชประสงค์จะให้มีโรงพยาบาล ขึ้นในประเทศไทยจึงตั้ง'คณะคอมมิตตีจัดการ'คณะหนึ่ เมื่อวันที่ ๒๒มีนาคม พ.ศ.๒๔๒๙เพื่อจัดการตั้งโรงพยาบาลตามพระราชประสงค์ คณะกรรมการดังกล่าวมี๙ คนมีกรมหมื่นสิริธัชสังกาศเป็นนายกฯพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงทำพิธีเปิดโรงพยาบาลเมื่อวันที่๒๖ เมษายน พ.ศ.๒๔๓๑ พระราชทานนามว่า
ศิริราชพยาบาล
        พ.ศ.๒๔๔๘ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้เลื่อนขึ้นเป็นกรมขุนสิริธัชสังกาศรับตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงพระคลังอธิบดีศาลฎีกาและเป็นราชเลขานุการฝ่าย กฎหมายพระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าศรีสิทธิธงไชยกรมขุนสิริธัชสังกาศสิ้น พระชนม์ในสมัยรัชกาลที่๖ เมื่อวันเสาร์เดือน๔ ขึ้น๑๒ ค่ำปีจอโทศกจ.ศ.๑๒๗๒ (วันที่๑๑ มีนาคม๒๔๕๓)พระชันษา๕๔ ปีทรงเป็นต้นราชสกุลศรีธวัช ณ อยุธยา
           ๒๖.๔.๓. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอรไทยเทพกัญญา 
           ๒๖.๔.๔.
พระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าวัฒนานุวงศ์กรมขุนมรุพงศ์สิริพัฒน์ พระนามเดิมพระองค์เจ้าวัฒนานุวงศ์ต้นราชสกุลวัฒนวงศ์ ณ อยุธยา
         ทรงรับราชการในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯเมื่อ พ.ศ.๒๔๓๘ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สถาปนาขึ้นเป็นกรมหมื่นมรุพงศ์สิริพัฒน์ รับราชการในกรมทหารมหาดเล็กราชวัลลภ ราชองครักษ์ต่อมาทรงรับตำแหน่งอัครราชทูตประจำกรุงปารีส
         พลตรีพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหมื่นมรุพงศ์สิริพัฒน์ทรงดำรงตำแหน่งข้าหลวงเทศาภิบาล ของมณฑลกรุงเก่าพระองค์แรกคือเมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงจัดระเบียบการปกครองแบบเทศาภิบาลภายใต้ดูแลของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยได้รวมได้๘หัวเมืองคือ กรุงเก่าพระนครศรีอยุธยาอ่างทองสระบุรีลพบุรีอินทบุรี(ปัจจุบันคืออำเภออินทร์บุรีจังหวัดสิงห์บุรี)พรหมบุรี(ปัจจุบันคืออำเภอพรหมบุรีจังหวัดสิงห์บุรี)พระพุทธบาท(ปัจจุบันคืออำเภอพระพุทธบาทจังหวัดสระบุรี)และสิงห์บุรีเข้า เป็นมณฑลกรุงเก่าและตั้งที่ว่าการมณฑลที่มณฑลกรุงเก่าเมื่อเดือนมกราคม พ.ศ.๒๔๓๘(ร.ศ.๑๑๔)ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนขึ้นเป็นกรมขุนมรุพงศ์สิริพัฒน์ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๕พระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าวัฒนานุวงศ์กรมขุนมรุพงศ์สิริพัฒน์สิ้นพระ ชนม์ในรัชกาลที่.๖เมื่อวันพฤหัสบดีเดือน ๕แรม๕ค่ำ ปีกุนเบญจศกจ.ศ.๑๒๘๕(๕ เมษายนพ.ศ. ๒๔๖๖)พระชันษา๖๑ปี ทรงเป็นต้นราชสกุลวัฒนวงศ์ ณ อยุธยา
        ๒๖.๔.๕. พระองค์เจ้าดำรงฤทธิ์มีพระชันษา๓ ปีก็สิ้นพระชนม์
    

(๒๗) พระองค์เจ้าชาย
    
(๒๘) พระองค์เจ้าชายหนูแดง
ได้เป็น'พระบำเรอราชแพทย์'ใน รัชสมัยสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่๓ ในคราวบูรณะวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม มีหน้าที่เป็นแพทย์ใหญ่คุมจารึกเรื่องตำรายาแพทย์แผนไทยและปรากฏในตำรา เรื่องแพทย์หมอพระนิพนธ์ของพระองค์เจ้าศรีเสาวภาคย์พระราชโอรสในสมเด็จพระ จอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่๔ ได้กล่าวถึงพระองค์เจ้าหนูแดงโดยระบุไว้ว่า'บุตรขุนหลวงตาก'ในที่นี้ไม่สามารถระบุพระราชมารดาแต่ข้าพเจ้าสันนิษฐานว่าคงเป็นน้องพระองค์เจ้า'อรนิภา'ในเจ้าจอมอำพันธ์ธิดาอุปราชจันทร์เมืองนครฯที่มีชื่อเล่นว่า'พระองค์เจ้าหนูดำ'เมื่อครั้งพี่ชายและพี่สาวถูกประหารพร้อม'เจ้าฟ้าเหม็น'นั้น
'พระองค์เจ้าชายหนูแดง' ยังเล็กอยู่จึงไม่ถูกประหารชีวิตไปด้วย

    
(๒๙) พระองค์เจ้าหญิงสุดชาตรี


                                                                                                                 พระเจ้าหลานเธอ ๔องค์ คือ
(๑)พระเจ้านราสุริวงศ์
เจ้าผู้ครองนครศรีธรรมราช ทิวงคต พ.ศ.๒๓๑๙(มีปรากฏในพระราชพงศาวดารและหมายรับสั่ง)
(๒)กรมขุนอนุรักษ์สงครามพระนามเดิมคือบุญมีมหาดเล็กเป็นเจ้ารามลักษณ์และเป็นกรมขุนอนุรักษ์สงครามถูกสำเร็จโทษพ.ศ.๒๓๒๕
(๓)กรมขุนรามภูเบศร์พระนามเดิมคือบุญจันทร์ เป็นเจ้าบุญจันทร์ ต่อมาเป็นกรมขุนรามภูเบศร์ ถูกสำเร็จโทษ พ.ศ.๒๓๒๕
(๔)กรมขุนสุรินทรสงครามปรากฏในบัญชีมหาดไทย(ดูประชุมพงศาวดารภาคที่๖๕หน้า๑๑๔)
                      
     
พระราชวงศานุวงศ์ที่ไม่ทราบระดับราชสัมพันธ์๔องค์ คือ
(๑)กรมขุนอินทรพิทักษ์สิ้นพระชนม์ก่อน พ.ศ.๒๓๒๐(มีปรากฏในหมายรับสั่ง)
(๒)หม่อมเจ้าเสง สิ้นชีพตักษัยก่อนพ.ศ. ๒๓๒๑(ปรากฏในหมายรับสั่งพระราชทานเพลิงพร้อม
พระยาสุโขทัยและพระยาพิไชยไอยสวรรย์โปรดให้พระยาจักรีเป็นผู้รับพระบรมราชโองการ)
(๓)หม่อมเจ้าปทุมไพจิตร(มีปรากฏในจดหมายเหตุทรงตั้งพระเจ้านครศรีธรรมราช)
(๔)หม่อมเจ้านราภิเบศ(ปรากฎในประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๖๕)
                
สกุล สายตรง คือ
(๑)สินสุข              วงศ์สมเด็จพระมหาอุปราช
(๒)อินทรโยธิน           วงศ์สมเด็จพระมหาอุปราช
(๓)พงษ์สิน             วงศ์สมเด็จเจ้าฟ้าชายทัศพงศ์
(๔)ศิลานนท์            วงศ์สมเด็จเจ้าฟ้าชายศิลา
(๕)รุ่งไพโรจน์           วงศ์สมเด็จเจ้าฟ้าชายนเรนทรราชกุมาร
(๖)ณ นคร             วงศ์ เจ้าพระยานคร (น้อย)
(๗)โกมารกุล ณ นคร     
วงศ์ เจ้าพระยานคร (น้อย)
(๘)จาตุรงคกุล           วงศ์ เจ้าพระยานคร (น้อย)

                             สกุล ที่สืบตรงทางสายหญิง คือ

(๑) อิศรเสนา ณ อยุธยา
(๒) ธรรมสโรช
(๓) นพวงศ์ ณ อยุธยา
(๔) สุประดิฐ ณ อยุธยา
(๕) ศรีธวัช ณ อยุธยา
(๖) วัฒนวงศ์ ณ อยุธยา
(๗) รัตนโกศ
(๘) ภาณุมาศ ณ อยุธยา
(๙) กาญจนวิชัย ณ อยุธยา
                                         
                                    สกุล เกี่ยวพันทางสายหญิง คือ
(๑) อิศรางกูร ณ อยุธยา
(๒) ปาลกวงศ์ ณ อยุธยา
(๓) เสนีวงศ์ ณ อยุธยา
(๔) กุญชร ณ อยุธยา
(๕) ชุมสาย ณ อยุธยา
(๖) ลดาวัลย์ ณ อยุธยา
(๗) สุริยกุล ณ อยุธยา
(๘) แสงชูโต
(๙) รัตนภาณุ
(๑๐) วิภาตะศิลปิน
(๑๑) ศรีเพ็ญ
(๑๒) ศรียาภัย
(๑๓) เทพหัสดิน ฯ อยุธยา
(๑๔) บุนนาค
(๑๕) บุรานนท์
(๑๖) สุวงศ์
(๑๗) ลักษณสุต
(๑๘) สุขกสิกร
(๑๙) บุรณศิริ
(๒๐) แดงสว่าง
(๒๑) กมลาศน์ ณ อยุธยา
(๒๒) แสงต่าย
(๒๓) มิตรกุล

(๒๔) จุลดิลก
(๒๕) สายะศิลป์
(๒๖) พนมวัน ณ อยุธยา

 
 

พระยากลาโหมราชเสนา(ทองอิน)

(15/02/2013)
พระยากลาโหมราชเสนา(ทองอิน)             &...