บทความ

ชาติกำเนิด
                                                                                
    
 'สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช'ท่านเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์หนึ่งที่ประกอบวีรกรรมในการกู้ชาติบ้านเมืองเมื่อครั้งเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่๒ พ.ศ.๒๓๑๐ หากวันนั้นแผ่นดินนี้ไม่มีพระองค์ก็คง'ไม่มีประเทศไทย''ไม่มี'กรุงเทพฯ' 'ไม่มีธนบุรี'และไม่มีแม้แต่คำว่า'คนไทย'หรือ'ชนชาติไทย'ปรากฏให้เห็น ความภาคภูมิใจในเรื่องราวอันยาวนานของชนชาติไทยคงสูญสิ้นไปนับแต่นั้น และคงจะไปปรากฏในพงศาวดารของ“พม่า”ซึ่งคงบันทึกไว้ว่า'ชาวไทยเป็นชนกลุ่มน้อย'อาศัยอยู่หนาแน่นในภาคตะวันออกของประเทศเช่นเดียวกับ”กระเหรี่ยง”และ“มอญ”
              แต่พระราชประวัติของพระองค์กลับไม่เคยกระจ่างชัดในเรื่องชาติกำเนิด ซึ่งเราถูกสอนมาว่า'พ่อเป็นจีน ชื่อไหฮอง เป็นนายอากรบ่อนเบี้ย มีพระยาจักรีบ้านโรงฆ้องนำไปเลี้ยงเป็นบุตรบุญธรรม'จนเราจดจำข้อความนี้ได้ขึ้นใจ โดยชาติกำเนิดดังกล่าวนั้นคัดลอกมาจากหนังสือ 'อภินิหารบรรพบุรุษ'ของ ก.ศ.ร.กุหลาบนักแต่งประวัติศาสตร์ในช่วงรัฐสมัยพระพุทธเจ้าหลวง โดยเริ่มแต่งครั้งแรกเป็นตอนๆลงในหนังสือสยามประเภทเมื่อปี พ.ศ.๒๔๔๒ ในชื่อเรื่องว่า'อภนิหารประจักษ์แห่งพระเจ้ากรุงธนบุรีศรีอยุธยา'ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๕๓ จึงพิมพ์เป็นเล่มในชื่อเรื่องว่า'หนังสือพระราชประวัติของสมเด็จพระเจ้าตาก(สิน) ซึ่งต่อมาคือต้นฉบับของหนังสืออภินิหารบรรพบุรุษที่เราอ้างถึง
         แต่เมื่อเราดูบันทึกประวัติศาสตร์ในรัชสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ หลังจากสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงพระประสูติกาลได้ห้าเดือน เราก็กังขาถึงความเป็นไปได้ เพราะครั้งนั้นเกิดกรณี 'กบฏ จีนก่าย'เป็นเหตุให้ชาวจีนในพระนครที่เป็นชนชั้นหัวหน้าถูกประหารหมดสิ้นนอกนั้นจะถูกจำคุกและถูกส่งไปเป็นตะพุนหญ้าช้าง ทำให้เรามั่นใจได้ว่าหากพระองค์มีพระบิดาเป็นชาวจีน พระยาจักรีคงไม่กล้าอุปการะพระองค์ แม้ในฐานะ'ทาสในเรือนเบี้ย' พระองค์คงถูกส่งไปเป็น'ตะพุนหญ้าช้าง'เท่านั้น กรณีที่
'พระยาจักรี'นำพระองค์ไปเลี้ยงเป็นบุตรบุญธรรมนั้น'พระยาจักรี' คงไม่กล้าแม้แต่จะคิด เพราะการต้องโทษ'กบฏ'ในรัชสมัยของพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศนั้นมีโทษสถานเดียวคือ'ประหารชีวิต'
                 
                และกว่าพระองค์จะมีชื่อว่า'สิน'ตามหนังสืออภินิหารบรรพบุรุษนั้นพระองค์มีชื่อปรากฏให้เห็นเป็นหลักฐานก่อนแล้วสองชื่อคือ'จีนเจ้ง'และ'พระเจ้าตาก'โดยชื่อ'จีนเจ้ง'เริ่มปรากฏในปี พ.ศ.๒๓๓๘ เมื่อสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงเป็นประธานชำระพระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี ฉบับพันจันทนุมาศ(เจิม)ว่า
'...เดิมชื่อจีนเจ้ง ซึ่งเป็นพ่อค้าเกวียน มีความชอบในแผ่นดิน ได้ไปเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดินอยู่ ณ เมืองตาก...(*๑)'และชื่อต่อมาคือ'พระเจ้าตาก'ปรากฏในสมัยสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่๔ เมื่อครั้งที่พระองค์ทรงพระราชนิพนธ์พงศาวดารสยามฉบับย่อ(Brief History of Siam)พระราชทานให้เซอร์จอห์นเบาว์ริง พระองค์ทรงอธิบายถึงความไม่ชอบธรรมในการเป็นพระเจ้าแผ่นดินของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีไว้ว่า...พวกข้าราชการหลายคนจากครั้งกรุงศรีอยุธยาไม่เต็มใจที่จะเข้าเฝ้าถวายตัวต่อ'พระเจ้าตาก'ทั้งหมดมีใจโอนเอียงไปข้างแม่ทัพผู้พี่และยิ่งกว่านั้นพวกเขาซึ่งมีใจอคติต่อพระเจ้าตากในเรื่องที่ว่าทรงมีเชื้อสายจีนได้พากันมองท่านแม่ทัพผู้พี่ควรมีฐานันดรสูงกว่าพระองค์เสียอีกพวกผู้ดีเก่าเหล่านี้ได้ชุมนุมกันเป็นข้ารับใช้ในเรือนส่วนตัวของท่านแม่ทัพโดยมิให้ผิดสังเกต...(*๒)'

               นอกจากนั้นยังมีหลักฐานหรือเอกสารจากต่างประเทศที่กล่าวถึงสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีปรากฏให้เห็นอย่างน้อยสองประเทศ เริ่มจากประเทศสาธารณประชาชนจีนที่มีสุสานบรรจุฉลองพระองค์ ของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีตั้งอยู่ที่อำเภอเถ่งไฮ่ มณฑลกวางตุ้ง โดยมีตำนานท้องถิ่นระบุว่า' สุสานแห่งนี้เป็นสุสานเก่าแก่สร้างมาตั้งแต่สมัยพระเจ้าเฉียนหลงฮ่องเต้ (พ.ศ. ๒๒๗๘-๒๓๓๙) มีป้ายหินจารึกไว้ว่าสุสานของแต้อ๊วงทำการบูรณะซ่อมแซมใหม่ในฤดูใบไม้ผลิปี ค.ศ. ๑๙๘๕(พ.ศ.๒๕๒๘...(*๓)”

                   หลักฐานทั้งหมดที่กล่าวมานั้นล้วนระบุว่าพระองค์มีพระราชบิดาเป็น'ชาวจีน'
แต่มีหนังสือเล่มหนึ่งกล่าวถึงพระราชประวัติของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีแตกต่างจากหลักฐานอื่น เป็นหนังสือที่ตีพิมพ์ในฝรั่งเศสเมื่อปี ค.ศ.1772 หรือพ.ศ.๒๓๑๔ ขณะที่สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีปราบดาภิเศกได้๔ปีหนังสือนั้นมีชื่อว่าประวัติศาสตร์ไทยสมัยกรุงศรีอยุธยาฉบับตุรแปงเขียนโดยนาย'ฟรังซัวส์ อังรี ตุรแปง' ชาวฝรั่งเศส โดยรวบรวมเรื่องราวจากบันทึกของบาทหลวงตาชารด์ชาวฝรั่งเศสที่ได้บันทึกไว้ตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนปลายจนถึงรัฐสมัยของพระองค์

                หนังสือนั้นได้บรรยายเหตุการณ์ตอนเสียกรุงศรีอยุธยาไว้มากมายอาทิ
'...พวกพม่าได้ใช้ไฟลนฝ่าเท้าของพวกสยามเพื่อจะให้พวกสยามเปิดเผยที่ซ่อนทรัพย์สินและทำการข่มขืนลูกสาวที่กำลังร่ำไห้ต่อหน้าต่อตาพวกเขา พระสงฆ์ซึ่งถูกสงสัยว่าปิดบังทรัพย์สินจำนวนมากถูกหอกซัดและถูกธนูยิงจนพรุน คนอื่นๆจำนวนมากก็ถูกตีจนตายด้วยกระบอง...(*๔)'และหนังสือนั้นได้กล่าวถึงสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีเมื่อครั้งรวบรวมผู้คนไว้ว่า'...ประชาชนมุ่งมั่นไปที่พระยาตากขุนนางสยามซึ่งมารดาเป็นชาวจีนท่านเป็นทั้งนักการเมืองและนักรบ ท่าน ปูทางที่จะไปสู่ความยิ่งใหญ่ของท่านด้วยการเรียกร้องความสงสารและความเห็นใจ ท่านได้รับเลือกเป็นหัวหน้าโดยเสียงส่วนใหญ่ของประชาชนทั้งหมด ครั้งแรกท่านได้ใช้นามแฝงว่า'ผู้กู้ชาติ'และแอบแฝงความสูงศักดิ์ โดยการใช้เครื่องนุ่งห่มตามปรกติ ท่านปรารถนาที่จะทำตัวเป็นเพียงประชาชนคนหนึ่งเท่านั้น เพื่อที่จะเป็นผู้ปกครองประเทศที่แท้จริงต่อไป...(*๕)' สุดท้ายพระราชประวัติของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีเป็นเช่นไรกันแน่

               และเพื่อทราบถึงพระราชประวัติที่แท้จริงของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี พระผู้เป็นมหาราชกู้ชาติไทย สมเด็จพระเอกาทศรสพระองค์ที่๖ หรือที่พวกเราคุ้นกับพระนาม'สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช'ข้าพเจ้าจึงขอเสนองานค้นคว้าครั้งนี้เพื่อให้ทุกท่านได้พิจารณา

หมายเหตุ

                ข้อเขียนนี้ค้นคว้าจากข้อมูลที่ถูกมองข้ามจากนักประวัติศาสตร์เพื่อให้เป็นมุมมองใหม่โดยมีเจตนาเพื่อการศึกษาเท่านั้นเพราะเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีตนั้นพวกเราเกิดไม่ทันจึงสมควรเรียนรู้ไว้เพื่อประกอบการศึกษาวิถีชีวิตของผู้คนในอดีตห้ามนำไปอ้างอิงใดๆอันอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อชาติบ้านเมืองหรือสังคมโดยรวม
                                               

                                                                 [ก่อนหน้า][หน้าต่อไป]     

.อ้างอิง
(๑)
พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี ฉบับพันจันทนุมาศ ( เจิม )

 (๒) พงศาวดารสยามฉบับย่อ(Brief History of Siam)พระราชนิพนธ์ใน
      สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่๔

 (๓) สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีกับจักรพรรดิจีน โดย ต้วน ลี เชิง
      
ประพฤทธิ์ ศุกลรัตนเมธี แปล
 (๔)
ประวัติศาสตร์ไทยสมัยกรุงศรีอยุธยาฉบับตุรแปง โดย'ฟรังซัวส์ อังรี ตุรแปง'
      ค.ศ.1772

.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.                                                             
 

ศึกสายเลือด(รัชสมัยพระเจ้าบรมโกศ)

(2/06/2015)
                &nbs...
 
 

พระราชประวัติสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีกับราชวงศ์จักรี

(30/05/2015)
                &nbs...
 
 

ก.ศ.ร.กุหลาบ "กุ" พระราชประวัติ

(2/06/2015)
            ก.ศ.ร.กุหลาบ “กุ&rdquo...
 
 

สุสานที่เมืองจีน

(31/05/2015)
                 หลั...
 
 

ข้อสรุปจากเมืองจีน

(30/05/2015)
ข้อสรุปจากเมืองจีน สรุปเอกสาร-หลักฐานจากประเทศจีน         &...
 
 

ประวัติศาสตร์ไทย ฉบับตุรแปง

(30/05/2015)
ประวัติศาสตร์ไทยสมัยกรุงศรีอยุธยา ฉบับตุรแปง          &...