บทความ

พระพักตร์ที่แท้จริง
                                                                                                                                      สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

            พระองค์ทรงมีคุณูปการอันใหญ่หลวงต่อปวงชนชาวไทยโดยเฉพาะบทบาทในการกอบกู้เอกราชของชาติไทย

            
การชำระพระราชพงศาวดารตามเหตุผลทางการเมืองในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์เป็นเหตุให้พระราชประวัติของพระองค์เต็มไปด้วยเงื่อนงำและปมปริศนา เริ่มตั้งแต่ชาติกำเนิดที่ยังสรุปไม่ได้ว่าพระองค์ท่านเป็นลูกใคร ตามด้วยชีวิตในวัยเด็กว่าสมัยเมื่อเป็นมหาดเล็กนั้นท่านไว้ผมเปียจริงหรือ และสุดท้ายคือกรณีสวรรคตที่ทุกๆคนค้นหาคำตอบ

             และที่คนไทยทุกคนอยากรู้เป็นอันดับต้นๆนั้นคือ'พระพักตร์'ที่แท้จริงของพระองค์
ว่าเป็นอย่างไรกันแน่ ด้วยออกมาให้เห็นในปัจจุบันนั้นมีไม่น้อยกว่า ๕ แบบจนหาข้อยุติไม่ได้ ด้วยต่างฝ่ายต่างหาเหตุผลมาสนับสนุนให้ฝ่ายตน
        
          
๑.ภาพจากวัดลุ่ม        ๒.ภาพจากอิตาลี         ๓.ภาพจากวัดเชิงท่า     ๔.ภาพจากบางแก้ว  ๕.ภาพจากวงเวียนใหญ่   

              จากการค้นคว้าโดยละเอียดถี่ถ้วนและยาวนานทำให้ผู้เขียนได้ข้อสรุปโดยไม่ต้องสงสัยเลยว่า
“พระพักตร์” ของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีนั้น แตกต่างจากนี้ไปไม่ได้อีกแล้ว

             โดยเริ่มในปี พ.ศ.๒๕๒๘ ผู้เขียนได้บวชเรียนที่วัดลุ่มมหาชัยชุมพลจังหวัดระยองที่มีศาลสักการะพระองค์ตั้งอยู่ โดยนับเป็นศาลสักการะแห่งแรกในประเทศไทยและมีพระบรมสาทิสลักษณ์ ที่วาดไว้เป็นต้นแบบเมื่อ พ.ศ.๒๔๔๗ประดิษฐานไว้ให้ผู้คนเคารพบูชา(รูปที่๑.รูปจากวัดลุ่มฯ)

              ผู้เขียนพินิจพิจารณาพระบรมสาทิสลักษณ์นี้อย่างละเอียดถี่ถ้วนอยู่หลายวัน กลับไม่เกิดศรัทธาสูงสุดเมื่ออยู่กับพระบรมสาทิศลักษณ์หรือภาพนั้น ด้วยเป็นภาพที่ไม่น่าเกรงขาม
และขาดซึ่งความสง่างามตามที่'นักรบผู้ยิ่งใหญ่'จำเป็นต้องมี ผิดกันไกลในความรู้สึกเมื่อขณะพูดถึงพระมหาวีรกรรมโดยไม่จำเป็นต้องมีภาพนั้นเป็นองค์ประกอบ พวกเราที่ได้ยินได้ฟังจะขนแขนลุกตั้งตลอดเวลา ผู้เขียนได้เก็บความรู้สึกนี้ไว้ในใจจนได้โอกาสจึงสอบถามเอาจากเจ้าคุณพระวินัยการกวีพระอุปัชฌาย์ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสในขณะนั้น

              ได้ความจริงว่า
เมื่อ พ.ศ.๒๔๔๗คุณยายทองปาน ภู่สุวรรณเจ็บป่วยกระเสาะกระแสะอยู่ตลอดเวลา ต่อมาวันหนึ่งได้ฝันไปว่าสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชมาบอกว่าพระองค์ไม่มีที่ประทับให้คุณยายเป็นธุระให้ด้วย คุณยายทองปานฯจึงได้มาปรึกษาพระอธิการผลิท่านเจ้าอาวาส
ในขณะนั้นซึ่ง
เป็นพระอาจารย์ของท่านเจ้าคุณพระวินัยการกวีอาจารย์ของผู้เขียนอีกต่อหนึ่ง ท่านอธิการผลิเจ้าอาวาสจึงแนะนำให้คุณยายทองปานฯสร้างศาลาที่ประทับถวายแด่พระองค์เพื่อให้ประชาชนได้สักการะบูชาและเป็นการสเดาะเคราะห์ให้คุณยายทองปานอีกทางหนึ่งด้วย คุณยายฯจึงร่วมกับชาวระยองสร้างศาลเป็นไม้ถวายแด่พระองค์ข้างต้นสะดือที่พระองค์ทรงผูกช้างและชอบเสด็จมาประทับในอดีตเมื่อครั้งรั้งอยู่ที่เมืองระยองพร้อมทั้งหล่อพระบรมรูปทองเหลืองประทับยืนสูง๗๐ซม.ไว้เป็นเครื่องสักการะ โดยก่อนทำการหล่อพระบรมรูปนั้นได้ให้จิตกรวาดพระบรมสาทิสลักษณ์ต้นแบบขึ้นมาก่อนโดยจิตกรจินตนาการตามความฝันของคุณยายทองปานฯมิได้อ้างอิงข้อมูลใดๆ

               
ฉะนั้นพระบรมสาทิสลักษณ์ที่วัดลุ่มนี้จึงมิใช่พระบรมสาทิสลักษณ์ที่แท้จริงของพระองค์(ศาลนี้ต่อมาเมื่อพ.ศ.๒๕๐๓ได้มีการปรับปรุงจากไม้เป็นก่ออิฐฉาบปูนและหล่อพระบรมรูปยืนเท่าคนจริงไว้สักการะส่วนพระบรมรูปเดิมเก็บรักษาไว้ในโบถส์ ศาลปัจจุบันนี้นับเป็นศาลที่๓) ถึงตรงนี้ก็คงไม่สามารถสรุปได้ว่า'พระพักตร์'ของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชเป็นอย่างใดกันแน่

              ภาพที่.๒ ภาพจากอิตาลี เป็นสานุศิษย์ของหลวงปู่โง่นเป็นผู้นำมาเผยแพร่โดยอ้างว่า ศิลปินชาวอิตาลีมาวาดไว้ในรัชสมัยของพระองค์ และมีผู้ไปถ่ายได้มาจากพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติอิตาลี(ปัจจุบันไม่พบแล้ว-ผู้เขียน)
 
             ภาพที่.๓จากวัดเชิงท่า ซึ่งเป็นวัดที่พระองค์บวชในสมัยอยุธยาข้อมูลอ้างว่ามี'ศิลปิน'มาวาดไว้เมื่อครั้งถวายพระบรมศพ'พระเจ้าเอกทัศน์'เป็นรูปที่ปรากฎได้ไม่นานมานี้เพราะผู้เขียนได้เคยไปถวายโคมที่พระกุฎิของพระองค์ที่วัดแห่งนี้ก่อนปีพ.ศ.๒๕๕๐เล็กน้อย ขณะนั้นพระสงฆ์ที่เฝ้ากุฎิเป็นพระสงฆ์ที่มีพรรษาไม่สูงนักแต่ก็ค้นคว้าเรื่อง'พระพักตร์'ของพระองค์ท่านอยู่เช่นกัน

              สำหรับงานวาดรูปบนผืนผ้าใบในเมืองไทยนั้นผู้เขียน
ได้ พยายามสืบค้นภาพวาดบนผืนผ้าใบของพระมหากษัตริย์และเชื้อพระวงศ์ของราชวงศ์จักรีตั้งแต่สมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่๓.สืบย้อนขึ้นไปจนถึงสมัยธนบุรีก็ไม่เคยปรากฏว่ามีศิลปินต่างชาติเข้ามารับจ้างวาดรูปหรือวาดรูปขายในเมืองไทยแต่อย่างใดทั้งสื้น จะมีก็แต่รูปวาดของประธานาธิบดียอร์ดวอชิงตัน ประธานาธิบดีคนแรกของอเมริกา ที่ราชทูตสหรัฐนำมาถวายให้พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวพระองค์ละ๑ภาพซึ่งยังพบในส่วนของพระปิ่นเกล้าประดับอยู่ที่พิพิธพันสถานแห่งชาติจนถึงปัจจุบัน
 
              ภาพที่.๔ จากบางแก้ว ซึ่งน่าจะเก่าแก่ที่สุดผู้เขียนเคยได้เห็นรูปนี้มาก่อนตั้งแต่ประมาณ พ.ศ.๒๕๓๐ ตอนนั้นทรงเครื่องทรงฮ่องเต้ ต่อมาศิลปินได้ดัดแปลงให้ทรงเครื่องทรงพระมหากษัตริย์ตามที่เห็นในปัจจุบัน โดยคง'พระพักตร์'ไว้แบบเดิมซึ่งจะคล้ายกับภาพที่.๕.คือ

             ภาพที่๕.ภาพจากพระพักตร์ต้นแบบพระบรมราชานุสาวรีย์วงเวียนใหญ่ เป็นผลงานของศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ที่ได้ค้นคว้าและปั้นเป็นต้นแบบไว้เพื่อสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์วงเวียนใหญ่ มีศิลปินไทยได้วาดไว้และนสพ.เดลินิวส์นำมาลงเต็มหน้าเมื่อประมาณ พ.ศ.๒๕๓๕ ซึ่งเมื่อพิจารณาภาพทั้งหมดแล้วหากตัดภาพจากวัดลุ่มฯออกไปจะมีแต่ภาพจากอิตาลีเท่านั้นที่มีพระพักตร์แตกต่างออกไปที่เหลืออีก๓ภาพนั้นใกล้เคียงกัน

              จึงเหลือให้ศึกษาค้นคว้าเพียง๒ทางเท่านั้นคือรููปจากอิตาลีและรูปต้นแบบจากวงเวียนใหญ่หรือจากบางแก้ว ทั้งสองภาพนั้นเป็นมาอย่างไร.

              ในขณะที่ค้นคว้าอยู่นั้นได้พบหนังสือเครื่องราชกกุฎพันธ์อ่านพบในหมวดเครื่องราชอิสริยาภรณ์บรรยายไว้ตอนหนึ่งว่า'วัฒนธรรม การมีเครื่องประดับสำหรับแสดงเกียรติยศและบำเหน็จความชอบซึ่งเป็นของพระมหากษัตริย์และต่อมาเรียกว่าเครื่องราชอิสริยาภรณ์นั้นในสังคมไทยมีมาตั้งแต่ครั้งโบราณเท่าที่ปรากฏหลักฐานพบว่ามีมาแต่ครั้งพระนครศรีอยุธยาเป็นราชธานี......และหนังสือดังกล่าวในหมวดเครื่องราชูปโภคสำหรับพระพิชัยสงครามได้กล่าวถึงพระสังวาล ๒ สายคือ“สังวาลพระนพ”กับ“พระมหาสังวาลนพรัตน์”(ดูภาพที่๖)

                                                
              โดย“พระ สังวาลพระนพ”นั้นเป็นสร้อยอ่อน มีลักษณะเป็นสายสร้อยทองคำล้วนจำนวน๓เส้นแต่ละเส้นยาว๑๒๔เซนติเมตร(ภาพที่๖ด้านบน) มีดอกประจำยามทำด้วยทองคำประดับนพรัตน์ดอกหนึ่งเรียกว่า'พระสังวาลพระนพ'ในพิธี บรมราชาภิเษกนั้นเมื่อพระมหากษัตริย์ประทับพระที่นั่งภัทรบิฐพราหมณ์จะเป็นผู้ทูลเกล้าถวาย'พระสังวาลพระนพ'ทรงรับสวมพระองค์ก่อนที่จะทรงรับเครื่องบรมราชอิสริยยศราชกกุธภัณฑ์ในอันดับต่อไป'(โดย“พระ สังวาลพระนพ”นี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้เคยพระราชทานให้พระยาจักรีเป็นความดีความชอบในโอกาสที่อัญเชิญพระแก้วมรกตมาจากเวียงจันทร์)


                          
               ส่วน“พระมหาสังวาลนพรัตน์”นั้น(ภาพที่๖ล่าง)เป็นสังวาลแฝดทำด้วยทองล้วนมีดอกประจำยามทำด้วยทองฝัง มณี๑๖ดอกดอกละ ๑ ชนิด คือเพชรทับทิม มรกตบุษราคัม โกเมน นิล มุกดา เพทาย และไพฑูรย์ซึ่งพระพุทธยอดฟ้าฯโปรดให้สร้างขึ้นใหม่เพื่อใช้ในพิธีบรมราชาภิเษกของพระองค์  หากแต่เมื่อพิจารณาทุกรูปภาพที่กล่าวอ้างและปรากฏให้เห็นนั้น ทุกรูปภาพจะทรงสพาย“พระมหาสังวาลนพรัตน์”ของสมเด็จพระ พุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทั้งสิ้น นั่นย่อมแสดงให้เห็นว่าภาพวาดทั้งหมดไม่ได้วาดในสมัยธนบุรีแต่วาดในสมัยรัตนโกสินทร์จึงไม่มีภาพใดวาดจากพระพักตร์ของพระองค์โดยเฉพาะภาพที่วาดโดยชาวต่างประเทศ(อิตาลี-เชิงท่า)ที่อ้างว่าศิลปินต่างชาติมาวาดไว้ในสมัยพระองค์นั้นย่อมเป็นไปไม่ได้เพราะศิลปินจะวาดพระสังวาล(สร้อย)ที่ยังไม่มีไม่เคยเห็นได้อย่างไร  เมื่อเป็นเช่นนี้ก็เหลือฟางเส้นสุดท้ายคือศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรีและพระพักตร์ต้นแบบวงเวียนใหญ่(ดูภาพ๗)

           
โดยเมื่อได้ศีกษางานของศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ที่ได้ค้นคว้ามา ทำให้ทราบความจริงว่าท่านค้นคว้ามาจากบรรดาคำบอกเล่าของชาวต่างชาติที่มาเมืองไทยในสมัยของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชแล้วมีหนังสือบรรยายลักษณะของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชกลับไปยังประเทศของตน ได้ข้อสรุปประมาณว่า 'รูปร่างสันทัด(เป็นชายร่างเล็ก)พระพักตร์คมเข้ม พระขนง(คิ้ว) ที่ทรงขมวดเหมือนทรงครุ่นคิดอยู่ตลอดเวลาและท้ายที่สุดคือมีพระเนตรที่ดุดันทรงพลังดูน่ากลัวมากฯลฯ'  แต่เมื่อถึงงานปั้นที่จะต้องปั้นพระพักตร์ต้นแบบ  ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ไม่สามารถหาคนที่มีลักษณะโดยรวมที่ละม้ายคล้ายคลึงกับสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ตามที่ตนค้นคว้าไว้ได้ แต่แล้วจึงนึกถึงลูกศิตย์๒คนคือนายทวี นันทขว้างและนายจำรัส เกียรติก้องว่าหากนำทั้ง๒คนมารวมกันแล้วคัดเฉพาะที่เหมือนสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชมาจาก๒คนนี้จึงจะได้ ท่านจึงขอร้องให้ลูกศิตย์๒คนดังกล่าวมาเป็นต้นแบบโดยได้บอกลูกศิษย์ว่า'หน้าคุณ๒คนรวมกันจึงเหมือนสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช”

               
ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรีนั้นเป็นศิลปินชาวต่างชาติที่ฝากผลงานไว้มากมายในประเทศไทยท่านศึกษาและค้นคว้าพระบรมราชานุสาวรีย์ของพระมหากษัตริย์ไว้หลายพระองค์ โดยงานปั้นที่ร่วมสมัยคือพระบรมราชานุสาวรีย์ของสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก(ดูภาพ๘)ที่สะพานพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ซึ่งเมื่อพิจารณาดูจะเห็นว่าทรงพระสังวาลทั้งสองสาย

                              
            ผู้เขียนจึงได้ค้นคว้าพระบรมราชานุสาวรีย์ของกษัตราธิราชและพระบรมวงศานุวงศ์ที่สำคัญต่อจากพระบรมราชานุสาวรีย์ที่สะพานพุทธ โดยเริ่มแต่พระราชานุสาวรีย์ของกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาทวังหน้าในรัชกาลที่๑ ที่วัดชนะสงคราม(ดูภาพ๙)ก็ทรงพระสังวาล๒สายเช่นกัน แต่เมื่อค้นคว้าต่อกลับพบว่าหลังจาก
พระราชานุสาวรีย์ของกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาทนั้น ราชวงศ์จักรีทุกพระองค์กลับทรง'พระมหาสังวาลนพรัตน์”ที่สร้างโดยรัชกาลที่๑.เพียงเส้นเดียวทั้งสิ้น เริ่มตั้งแต่สมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยรัชกาลที่๒.(ดูภาพ๑๐)ต่อด้วยสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่๓(ดูภาพ๑๑) อันดับต่อมาคือพระ บรมสาทิสลักษณ์ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยาเทพสุดาวดี(สา)พระพี่นางองค์ใหญ่ในรัชกาลที่๑.(ดูภาพ๑๒)และกรมพระราชวังบวรสถานพิมุข(ดูภาพ๑๓)วังหลังพระองค์เดียวแห่งราชวงศ์จักรี ทั้งหมดทรง“พระมหาสังวาลนพรัตน์”ที่สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก โปรดให้สร้างขึ้นมาใหม่เพื่อใช้ในพิธีปราบดาภิเศก ทั้งสิ้นตามที่กล่าวมา จึงได้ข้อสรุปในเรื่อง'พระสังวาล'อย่างแจ่มชัดว่า ตั้งแต่รัชสมัยของสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยรัชกาลที่๒.นั้น พระมหากษัตริย์ไทยทุกพระองค์ทรง“พระมหาสังวาลนพรัตน์”ทำให้ได้ความจริงอีกข้อว่ารูปวาดของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชที่กล่าวอ้างกันนั้นคงวาดในชั้นหลังมิได้ร่วมสมัยกับพระองค์แต่อย่างใด

            สำหรับหลักฐานยืนยันชิ้นสำคัญคืองานสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์วงเวียนใหญ่โดยเริ่มจากนายทองอยู่ พุฒพัฒน์ ซึ่งแต่แรกนั้นเป็นครูสอนประวัติศาสตร์มีความคิดเริ่มรวมกลุ่มกันเมื่อประมาณ พ.ศ.๒๔๖๕ที่จะผลักดันให้มีการสร้างแต่ติดขัดในระบอบการปกครอง แต่ต่อมา พ.ศ.๒๔๗๕มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองและนายทองอยู่ฯได้เป็นผู้แทน'จังหวัดธนบุรี'คนแรก  จึงเริ่มผลักดันอย่างจริงจัง จนเมื่อพ.ศ.๒๔๗๗นายทองอยู่ฯและคณะได้ยื่นหนังสือขออนุญาตไปถึงรัฐบาล  พ.ศ.๒๔๗๘พันเอกพหลฯนายกและคณะรัฐมนตรีอนุมัติให้สร้าง(ตั้งคณะกรรมการและอนุมัติเงินร่วมก่อสร้างด้วย๒๐๐,๐๐๐บาท)โดยในการออกแบบนั้นที่ประชุมได้มอบหมายให้ศาตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ออกแบบและปั้นพระบรมรูปจำลองทั้งหมด๗แบบนำออกแสดงให้ประชาชนลงมติในงานรัฐธรรมนูญประจำปี พ.ศ.๒๔๘๐ที่วังสราญรมย์

                แบบที่ชนะคือแบบที่เห็นที่วงเวียนใหญ่นั้นเป็น
แบบที่๑.ชนะได้คะแนน๓,๙๒๓คะแนนได้เงิน๙๐.๓๔บาท(ยอดรวม๑๔๓.๕๔บาท) ส่วนการก่อสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์วงเวียนใหญ่นั้นใช้เงินค่าก่อสร้างทั้งหมด  ๕,๑๙๗,๘๗๒.๔๕บาท   ส่วนใหญ่เป็นเงินที่บริจาคโดยประชาชนที่เคารพ-เทิดทูลพระองค์ท่าน(รัฐบาลจ่ายมา๒๐๐,๐๐๐)
           
พระบรมราชานุสาวรีย์วงเวียนใหญ่แล้วเสร็จในปี พ.ศ.๒๔๙๗ทำพิธีเปิด ๑๗เมษายน โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพล

               ส่วนรูปปั้นทรงนั่งกรรมฐานที่วัดอินทารารามนั้นประวัติเก่าของวัดระบุไว้อย่างชัดเจนว่า นายต่าง บุญยมานพ ได้จ้างช่างมาปั้นในปี พ.ศ.๒๔๘๑ตามจินตนาการเท่านั้นมิได้อ้างอิงจากเอกสารการค้นคว้าใดๆ

 

            ประการสุดท้ายพระพักตร์ต้นแบบจากวงเวียนใหญ่นี้ได้ใช้เป็นต้นแบบของพระบรมราชานุสาวรีย์ของพระองค์ในทุกสถานที่ที่เป็นความรับผิดชอบของกรมศิลปกรแม้แต่ศาลที่วัดลุ่มในปัจจุบันก็มีพระพักตร์แบบนี้แล้ว.อีกทั้งสังวาลที่ทรงก็เป็นสังวาล๓สายตามความเป็นจริงแล้ว...จึงควรถือเป็นข้อยุติได้ในปัจจุบันเพียงแต่พระบรมราชานุสาวรีย์มักปั้นเมื่อทรงพระชนม์ได้ ๔๗พระชันษาแต่รูปที่ข้าพเจ้าภีมเดช อมรสุคนธ์ค้นคว้านั้นกำหนดเมื่อทรงพระชนม์๓๓พระชันษาหรือวันที่ปราบดาภิเศกเป็นพระเจ้าแผ่นดินของชาติไทย

                       
               
                                 (ดู
ภาพเปรียบเทียบ)

.

.
.                                                                     
                ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ ขัาพระพุทธเจ้านายภีมเดช อมรสุคนธ์ (ทนายอ๊อด-ระยอง)ผู้ค้นคว้าถวาย
.
.