พระยากลาโหมราชเสนา(ทองอิน)

เมื่อ 15/02/2013
พระยากลาโหมราชเสนา(ทองอิน)
                  ราชโอรสของสมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนอินทรพิทักษ์พระมหาอุปราชในสมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี

                  โดยที่ยังเป็นข้อโต้แย้งกันอยู่ว่าดำรงตำแหน่ง'พระยากลาโหมราชเสนา'ในรัฐสมัยของ'วังหน้า'พระองค์ใด ข้าพเจ้าจึงมีความจำเป็นที่จะต้องทำความเข้าใจในพระราชอำนาจของ'กรมพระราชวังบวร'แห่งกรุงรัตนโกสินทร์เสียก่อนว่า เมื่อมีการ'อุปราชาภิเษก'กรมพระราชวังบวรสถานมงคลแล้ว เป็นหน้าที่ของ'วังหน้า'พระองค์นั้นที่จะแต่งตั้งขุนนางในสังกัดด้วยพระองค์เอง ดังเช่นกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาถ'วังหน้า'พระองค์แรกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ได้ทรงดำเนินการดังนี้
“ตรัสเอา พระไชยบูรณ์ ปลัดเมืองพระพิษณุโลกเป็นพระยากลาโหมราชเสนา...และ...ตรัสเอานายทองอิน ข้าหลวงเดิมเมืองพระพิษณุโลก เป็นพระยาเสน่หาภูธร จางวางมหาดเล็ก”*(๑)

                     สรุปว่าในวันอุปราชาภิเษกนั้นกรมพระราชวังบวรมหาสุรสีหนาท(พระเจ้าเสือ)ได้แต่งตั้งปลัดเมืองพิษณุโลกเป็นพระยากลาโหมราชเสนาและแต่งตั้งนายทองอิน ซึ่งเป็นข้าหลวงเดิมแต่พิษณุโลก เป็นพระยาสเน่หาภูธร ครั้นเมื่อกรมพระราชวังบวรมหาสุรสีหนาทสวรรคตยังไม่ได้ถวายพระเพลิงก็เกิดเหตุที่เรัยกว่ากบฏวังหน้าดังนี้“...ตั้งแต่นั้นมาพระองค์เจ้าลำดวน พระองค์เจ้าอินทปัตก็มีความกำเริบจึงไปร่วมคิดกับนายทองอิน กลาโหม เป็นคนแข็งทัพศึกสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกรมพระราชวังบวรฯก็โปรดปรานไว้พระทัย ตรัสว่าทรงรักเหมือนบุตรบุญธรรม นายทองอินกลาโหมกับพระองค์เจ้าทั้งสองตั้งกองเกลี้ยกล่อมหาคนดีมีวิชาความรู้มาทดลองกันในวังพระองค์เจ้าลำดวน ถ้าพลาดพลั้งล้มตายลงก็ฝังเสียข้างในกำแพงวังเป็นหลายคน...ฯลฯ...ครั้นมาถึงวันอังคารเดือน ๓ ขึ้น ๕ ค่ำ จับนายทองอินกลาโหมกับพวกได้สิ้นนายทองอินให้การว่าวันถวายพระเพลิง(กรมพระราชวังบวรฯ)จะเป็นวันที่ลงมือทำการประทุษร้ายได้ความจะแจ้งแล้วก็ให้เอาพระองค์เจ้าลำดวนพระองค์เจ้าอินทปัต กับบุตรไปสำเร็จโทษเสียด้วยท่อนจันทน์อ้ายทองอินกับพรรคพวกทั้งนั้น ก็ให้เอาไปประหารชีวิตเสีย...”*(๒)

                    ย่อมแสดงว่าเมื่อพระยากลาโหมราชเสนาเสียชีวิตกรมพระราชวังบวรมหาสุรสีหนาท(พระเจ้าเสือ)ได้แต่งตั้งพระยาสเน่หาภูธร(ทองอิน)เป็นพระยากลาโหมราชเสนาแทนพระยากลาโหมฯท่านเดิม

                     'อนึ่งตามประเพณีมีแต่โบราณมา เวลาว่างพระมหาอุปราช จะเป็นเพราะเหตุพระมหาอุปราชเสด็จผ่านพิภพเป็นสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินก็ดี หรือพระมหาอุปราชสวรรคตก็ดี ข้าราชการวังหน้าต้องมาสมทบเป็นข้าราชการวังหลวง ผู้ที่รับราชการกรมไหนในวังหน้าก็มารับราชการในกรมนั้นในพระราชวังหลวง แต่นั้นสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินก็ทรงตั้งทั้งตำแหน่งข้าราขการฝ่ายวังหลวงและวังหน้า จนทรงตั้งพระมหาอุปราชเมื่อใด ข้าราชการที่ตำแหน่งเป็นฝ่ายพระราชวังบวรฯ ก็กลับไปรับราชการในพระมหาอุปราช เป็นประเพณีมีมาดังนี้'*(๓)

                      
กรณีที่ ๑.หากพิจารณาตามเอกสารและหลักฐานที่ปรากฏจะเห็นได้ว่า'พระยากลาโหมราชเสนา' ในสมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาทนั้นมี๒ท่านล้วนเป็นข้าหลวงเดิมแต่ เมืองพิษณุโลกทั้งสิ้น พระยากลาโหมราชเสนา(พระองค์เจ้าทองอิน)ย่อมไม่ใช่พระยากลาโหมฯทั้งสองท่าน นี้อย่างแน่นอน หากพระองค์เจ้าทองอินคือพระยากลาโหมราชเสนาในสมัยสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกรัชกาลที่๑.นั้น จะต้องแต่งตั้งโดยสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกในช่วง พ.ศ.๒๓๔๖-๒๓๔๘ ช่วงที่ว่างเว้นจากตำแหน่งกรมพระราชวังบวรสถานมงคล เท่านั้น

                    กรณีที่ ๒.พิจารณาตามอายุ ดังนี้ พ.ศ.๒๓๑๐ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีมหาราชปราบดาภิเษกเมื่อพระชนม์มายุได้๓๓พระชันษา แสดงว่าขณะนั้น'สมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนอินทรพิทักษ์'จะมีพระชนม์มายุประมาณ ๑๔-๑๕ปีและเมื่อสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีมหาราชครองราชย์ได้๑๕ปี'สมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนอินทรพิทักษ์'จะอายุไม่เกิน๓๐ปีเมื่อผลัดแผ่นดิน ทรงมีโอรสธิดา ๔ ท่าน พระองค์เจ้าทองอิน เป็นโอรสองค์สุดท้ายอายุเมื่อ พ.ศ.๒๓๒๕ อย่างมากก็เพียง ๗- ๑๐ขวบ พระองค์เจ้าลำดวน ๓ ขวบ พระองค์เจ้าอินทปัต ๔ ขวบ

                       สรุปว่าเมื่อผลัดแผ่นดินในปี พ.ศ.๒๓๒๕ และเป็นปีที่มีการอุปราชาภิเษกนั้นกรมพระราชวังบวรมหาสุรสีหนาท(พระเจ้าเสือ)
ได้แต่งตั้งปลัดเมืองพิษณุโลกเป็นพระยากลาโหมราชเสนาและแต่งตั้งนายทองอิน ซึ่งเป็นข้าหลวงเดิมแต่พิษณุโลก เป็นพระยาสเน่หาภูธร โดยที่ขณะนั้น
                            พระองค์เจ้าทองอิน อายุได้ ประมาณ    ๗-๑๐ ขวบ
                            พระองค์เจ้าลำดวน                                       ๓ ขวบ
                            พระองค์เจ้าอินทปัต                                      ๒ ขวบ

                      
๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๓๔๖
สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุนสิงหนาท สวรรคต
                      
พระองค์เจ้าทองอิน อายุได้ ประมาณ    ๒๘-๓๐ ปี
                             พระองค์เจ้าลำดวน                                      ๒๔  ปี
ทุบด้วยท่อนจันทร์
                            
พระองค์เจ้าอินทปัต                                     ๒๓  ปี ทุบด้วยท่อนจันทร์

แต่แผ่นดินว่างเว้นพระมหาอุปราชอยู่๓ปี อำนาจในการแต่งตั้งข้าราชการในวัหน้าจะอยู่ที่พระเจ้าแผ่นดินทั้งสิ้นและเมื่อ
ราชโอรสองค์เล็กของสมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนอินทรพิทักษ์พระมหาอุปราชในสมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีที่ชื่อ ทองอิน ได้ตำแหน่งพระยากลาโหมราชเสนา ในสมัยรัชกาลที่๑.จริง คงได้รับการแต่งตั้งช่วงนี้ แต่ปริศนาจะตามมาอีกคือ'ไม่ได้ถูกประหาร'
                                        (โปรดติดตามตอนต่อไป)