ขึ้น ๔ ค่ำ เดือนยี่ ปีจอ จุลศักราช ๑๑๒๘ ออกจากอยุธยา ๓ ม.ค.๒๓๑๐ไปทางบ้านข้าวเม่า เที่ยงคืนเศษ ถึงสัมบัณฑิต ขึ้น ๕ ค่ำ เดือนยี่ เช้ารบกับพม่าที่โพสาวหาร ยกไปประทับแรมบ้านพรานนกก่อนพักทัพรบพม่าจากบางคาง ๔ ม้าแซงล่อปีกกา ขึ้น ๖ ค่ำ เดือนยี่ เช้าขุนชำนาญไพรสณฑ์สวามิภักดิ์ถวายช้าง(พลาย ๕ พัง๑ )พักบ้่านดง ขึ้น ๘ ค่ำ เดือนยี่ ตีบ้านดงแตก ได้ช้างพลายช้างพังอีกรวม๗ ช้าง ๗ ม.ค.๒๓๑๐ ขึ้น ๙ ค่ำ เดือนยี่ ยกพลทหารออกมาประทับตำบลหนองไม้ทรุง ๘ ม.ค.๒๓๑๐ ขึ้น ๑๑ ค่ำ เดือนยี่ บ้านนาเริ่ง ขึ้น ๑๒ ค่ำ เดือนยี่ ฝั่งตะวันออกของด่านกบแจะแขวงเมืองปราจีนบุรี ขึ้น ๑๓ ค่ำ เดือนยี่ สำนักหนองน้ำ พระเชียงเงินมาสมทบ พม่ามาจากปากน้ำเจ้าโล้ ตั้งวงล้อมกับดักเสือ พม่าไม่มารบอีก แรม ๒ ค่ำ เดือนยี่ บ้านหัวทองหลาง แรม ๓ ค่ำ เดือนยี่ พานทอง แรม ๔ ค่ำ เดือนยี่ บางปลาสร้อย แรม ๕ ค่ำ เดือนยี่ .“ถึงบ้านนาเกลือ นายกลมคุมไพร่พลทหารอยู่ที่นั้น คอยสกัดคิดประทุษร้าย จึงทรงช้างพระที่นั่งสรรพด้วยเครื่องสรรพยุทธ ทรงพระแสงปืนต้นรางแดงกับด้วยหมู่โยธาทหารเข้าไปในระหว่างทหารนายกลมอยู่ นั้นด้วยเดชบรมโพธิสมภาร นายกลมและพวกโยธาทหารทั้งนั้น ให้สยดสยองกลัวพระราชอานุภาพวางศัสตราวุธเสีย แล้วถวายบังคมอ่อนน้อมเป็นข้าใต้ละอองธุลีพระบาท จึงนำเสด็จดำเนินเข้าไปประทับในสถานอันสุขสมควร แล้วพระราชทานราชทรัพย์และราโชวาทให้ตั้งอยู่ในยุติธรรม' “ครั้นรุ่งขึ้น ณ แรม ๖ ค่ำเดือนยี่ พักกองทัพที่ พัทยา ๒๐ ม.ค.๒๓๑๐ แรม ๗ ค่ำเดือนยี่ พักกองทัพที่ นาจอมเทียน ๒๑ ม.ค.๒๓๑๐ แรม ๘ ค่ำเดือนยี่ พักกองทัพที่ ทุ่งไก่เตี้ย ๒๒ม.ค.๒๓๑๐ แรม ๙ ค่ำเดือนยี่ พักกองทัพที่ สัตหีบ ๒๓ม.ค.๒๓๑๐ แรม ๑๐ ค่ำเดือนยี่พักกองทัพที่ ชายทะเล ๒๔ ม.ค.๒๓๑๐ (ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของวัดพลา ตำบลพลา อ.บ้านฉาง-มีหลักฐานเป็นบ่อน้ำเก่าเหลืออยู่) แรม ๑๑ค่ำ เดือนยี่ พักกองทัพที่ บ้านหินโด่ง(หินโค่งหรือหินโข่ง) ๒๕ ม.ค.๒๓๑๐ ปัจจุบันคือ “บ้านสะพานหิน” หมู่ที่๘ ตำบลทับมา อำเภอเมือง จังหวัดระยองที่บ้านนี้มีเอกลักษณ์คือมีหินก้อนใหญ่ๆ(โค่ง-โข่ง) อยู่ประปรายในพื้นที่ ทั้งที่บริเวณนั้นเป็นทุ่งนาและพื้นที่ใกล้เคียงไม่มีหินปรากฏให้เห็น และ มีหินที่แข็งแกร่งมาก๑ก้อนขวางทางสัญจรหลักและขวางทางน้ำอยู่ ภายหลังชาวบ้านจึงช่วยกันสกัดหินทั้งก้อนเป็นสะพานมีลักษณะสะพานที่เป็นหิน แผ่นเดียวกว้างประมาณ๓-๔เมตร นานมาชาวบ้านเรียก“บ้านสะพานหิน”ตามชื่อสะพานจนถึงปัจจุบันและตำบลนั้นจึง เรียกว่า”ตำบลกองทัพมา”แต่คนระยองจะพูดสั้นๆและห้วนๆนานเข้าก็เหลือแค่'ทัพ มา'(เขียนทับมา)ตาม ความเคยชิน สะพานนั้นชาวบ้านใช้สัญจรไปมาจนถึง พ.ศ.๒๕๒๕ น้ำท่วมใหญ่ พัดพาดินทรายท่วมสะพานหมด ปัจจุบันทางน้ำอยู่เหนือบริเวณสะพานที่จมอยู่ใต้ดิน แรม ๑๒ ค่ำ เดือนยี่ พักกองทัพที่ บ้านเก่า(พงศาวดารเรียกน้ำเก่า)๒๖ ม.ค.๒๓๑๐ แรม ๑๓ ค่ำ เดือนยี่ ๒๗ ม.ค.๒๓๑๐ผู้รั้งเมืองระยองและคณะมาต้อนรับมอบอาหาร ๑ เกวียน นำพระยาตากไปพักที่วัดลุ่ม แรม ๑๕ ค่ำ เดือนยี่ ๒๙ มกราคม นายบุญรอดแขนอ่อน นายหมวด นายบุญมาน้องเมียพระยาจันบุรีมาแจ้งข่าว จึงให้จับเจ้าเมือง ขึ้น ๙ ค่ำ เดือนสาม ย้ายค่ายมาพักที่ท่าประดู่(ปัจจุบันคือวัดป่าประดู่)ตั้งทัพจนย้ายไปเมืองจันทบุรี เส้นทางเดินทัพเข้าระยอง . . .