|
บรมราชานุสรณ์สถาน
สร้างเพื่อเทอดพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชโดยมีพระบรมราชานุสาวรีย์อยู่ตรงกลางล้อมรอบด้วยรูปปูนปั้น จำลองเหตุการณ์ต่างๆตั้งแต่ ตีฝ่าวงล้อมพม่าออกมาจากกรุงศรีอยุธยา มาประกาศตนเป็นเจ้าที่จังหวัดระยองและปราบดาภิเษกที่ธนบุรีฯลฯ โดยมีรูปปูนปั้นขนาดใหญ่๔รูป ประดับไว้ใต้ฐานพระบรมราชานุสาวรีย์ทั้ง๔ด้านดังนี้
๑.เป็นภาพ'พระยาตาก'ยกทัพฝ่ากองทัพพม่า
๒.เป็นภาพเหตุการณ์ที่ระยองจนถึงการประกาศตนเป็นเจ้าชุมนุม
๓.เป็นภาพทหารทุบหม้อข้าวและพระองค์ทรงช้างคีรีบัญชรตีเมืองจันทบูร
๔.พิธีปราบดาภิเษก
ภาพที่เหลือจะเป็นการจำลองเหตุการณ์ทั้งหมดไว้ที่กำแพงโดยรอบพระบรมราชานุสรณ์สถาน โดยจะมีการบรรยายทุกภาพทุกเหตุการณ์ตามพงศาวดารฉบับพันจันทนุมาศเริ่มจาก
ภาพที่๑.คือภาพยกพลออกจากอยุธยาเป็นภาพพระยาตาก(บนหลังม้า)พร้อมด้วยทหารม้าอีก๕ม้าทหารราบ๕๐๐ปืนยาว๑กระบอก(หลวงพิชัยเป็นผู้ถือ)แยกไป๒ทางคือพระเชียงเงิน(บนหลังม้า)กับทหารอีก๑ม้าและทหารราบประมาณ๑๐๐(ไปขนเสบียง)และพระยาตากรวม๔ม้ากับทหารราบอีก๔๐๐ไปทางตรงฝ่านำหน้าเปิดช่องให้พระเชียงเงินไปเอาเสบียง ซึ่งจะไปพ้องกับเหตุการณ์ข้างหน้าในเรื่องการรบ'๔ม้า'กับกองทหารปีกการบกับพม่า๓๐ม้าและเมื่อพระเชียงเงินไปสมทบจะเป็นเหตุการณ์ที่พระองค์และทหารม้ารวม๖ม้าเข้ารบล่อพม่ามาสู่ยุทธการวงล้อม 'กับดักเสือ'อันลือลั่นตลอดยาวไปจนเสร็จศึกอะแซหวุ่นกี้
นอกจากนั้นจะมีภาพบางภาพที่เป็นเหตุการณ์เฉพาะของแต่ละพื้นที่ ที่ไม่มีปรากฏในพงศาวดาร เช่นการเจรจากับ'นายชื่นบ้านไข้'และการรวบรวมผู้คนที่เมืองระยอง ซึ่งภาพประเภทนี้จะมีผู้รับผิดชอบของแต่ละจังหวัด ซึ่งจะเป็นผู้บรรยายสรุปและอธิบายไว้ตากหากเพื่อให้ได้ทราบตำนานท้องถิ่น ไว้เปรียบเทียบกับพงศาวดาร
|
|
|
|
|