พระเชียงเงิน |
|
อ้างอิง
อ่าน 3333 ครั้ง / ตอบ 2 ครั้ง
|
ทนายอ๊อด
|
ชื่อ “พระเชียงเงิน” ปรากฏอยู่ในจดหมายเหตุกรมหลวงนรินทรเทวีว่า มิได้หนีมาพร้อมกับสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี แต่ตามเสด็จมาพบในภายหลัง และได้ “ให้พลายแหวนกับพังม้วน”
พระ เชียงเงิน เป็นเจ้าเมืองเชียงเงิน ซึ่งเป็นเมืองจัตวาขึ้นกับเมืองตาก-ระแหง ของ'พระยาตาก' ถือว่าเป็นขุนนางในสังกัดที่ได้เข้าสวามิภักดิ์ด้วยแต่ต้น และด้วยพระเชียงเงินเป็นเจ้าเมืองชั้นตรีในตำแหน่ง'พระ' จึงมีทหารในสังกัดของตัวเองส่วนหนึ่ง เมื่อยกกองเสบียงและครัวทหารมาทันกองทัพของ'พระยาตาก'ซึ่งขณะนั้นมีช้างศึก๑๓เชือก 'พระยาตาก'จึงมอบช้างให้๒เชือกเพราะเป็นนายทหารระดับรองจากท่านเท่านนั้น การมีบรรดาศักดิ์ “พระ” จึงสูงกว่าบริวารทั้งหมดที่ร่วมฝ่าออกมาจากกรุงศรีอยุธยา
เมื่อพระเชียงเงินนำกองเสบียงมาสมทบนั้นจึงได้รับการขนานนามว่า“พระเชียงเงินท้ายน้ำ”อย่างไม่เป็นทางการเพราะขณะนั้น'พระยาตาก'ยังถือเป็นขุนนางส่วนกลางเพราะกรุงศรีอยุธยายังไม่แตกและ'พระยาตาก'ยังไม่ได้ประกาศตนเป็นเจ้า(ชุมนุม)
พระราชพงศาวดารกล่าวไว้ในคราวที่ทรงต่อสู้กับทหารของฝ่ายผู้รั้งเมืองระยองที่เมืองระยอง บรรยายเหมือนว่าพระเชียงเงินได้รับตำแหน่งที่ “ท้ายน้ำ” ไปแล้ว พระราชพงศาวดารเรียกว่า “พระเชียงเงินท้ายน้ำ” ความจริงยังไม่ได้ตำแหน่งนั้นแต่จะได้ตำแหน่ง'ท้ายน้ำ'เมื่อประกาศตนเป็นเจ้า(ชุมนุมม)ที่เมืองระยองแล้ว พงศาวดารเขียนขึ้นภายหลังครั้นจึงสับสนเรื่องตำแหน่ง และเมื่อปราบเมืองเหนือได้เรียบร้อยแล้ว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเชียงเงินท้ายน้ำผู้นี้รั้งเมืองสุโขทัยจึงปรากฏชื่อว่าเป็น “พระยาสุโขทัย” จนถึงแก่อนิจกรรมเมื่อก่อน พ.ศ. ๒๓๒๐ พระเชียงเงินท้ายน้ำ หรือพระยาสุโขทัยนั้น เป็นเจ้าเมืองคนหนึ่งที่สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีโปรดให้มาเฝ้าเพื่อทรงสั่งสอน “วิชาการ” ต่อสู้ข้าศึก เพระฉะนั้น พระยาสุโขทัยผู้นี้ จึงเป็นข้าราชการที่ได้รับความไว้วางพระทัยอย่างสูงจากสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีด้วยผู้หนึ่ง
|
|
ทนายอ๊อด [223.204.243.xxx] เมื่อ 18/07/2023 14:51
|