ใต้วงล้อมพม่า
ด้านมหานรทาเมื่อทราบว่าเนเมียวสีหบดียกลงมาถึงชานพระนครแล้วก็เคลื่อนทัพออกจากบ้าน“กานนี”มาตั้งทัพด้านหลังเจดีย์ภูเขาทอง การปิดล้อมอยุธยาอย่างเป็นทางการจึงได้เริ่มเปิดฉากขึ้นนับแต่นั้น ทั้งสองฝ่ายก็เปิดฉากรบกันโดยตั้งแต่พม่าล้อมกรุงใช้เวลาทั้งสิ้น๑ปีกับ๒เดือน รบกันทั้งหมด ๘ ครั้ง ไทยจึงเสียกรุงศรีอยุธยา โดยครั้งแรกนั้นเปิดฉากหลังจากพม่าตั้งทัพได้เรียบร้อย ฝ่ายกรุงศรีอยุธยาจึงยกเข้าตีโดยมีพระยาธิเบศร์บดีเป็นแม่ทัพดังนี้ '...พระองค์ก็ทรงจัดช้างสำหรับรบศึก ๕๐๐ปืนใหญ่บรรทุกล้อ ๑๐๐๐ กระบอก พลทหารราบ ๕๐๐๐๐แล้วทรงมอบอาญาสิทธิ์ให้พระยาธเบศร์บดี(พม่าเรียงพระยาสุระเทพ)เป็น แม่ทัพคุมพลออกไปรบเนเมียวสีหบดีแม่ทัพพม่าที่ตั้งค่ายอยู่ทางฝั่งทิศตะวัน ออกกรุงศรีอยุธยาแล้วพระยาสุระเทพแม่ทัพอยุธยาก็คุมพลทหารยกธงไชยตีฆ้องกลอง ออกมาโดยกล้าหาญมิได้ย่อท้อกลัวเกรง...'ผลคือ'พระยาธเบศร์บดี'พ่ายแพ้ยับเยิน
ในส่วนวีรกรรมในการรบของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชนั้นพงศาวดารพม่าได้บันทึกไว้ในศึกครั้งที่๒ก่อนน้ำหลากว่าในการศึกครั้งนั้นมี“พระยาตาก”และ“พระสรรค์อำมาตย์”เป็นแม่ทัพถือพลคนละ๕๐,๐๐๐เท่ากัน ทำการสู้รบกับทหารพม่าอย่างมีประสิทธิภาพทำให้ทัพพม่าแตกไม่เป็นกระบวนและเจ้าเมืองสุพรรณบุรีที่ยอมถือน้ำสาบานกับพม่าต้องปืนตายบนหลังช้างอันเป็นเหตุให้ มหานรทาแม่ทัพใหญ่จำเป็นต้องคุมทัพช้างและพลปืนเข้าแก้จึงสามารถยับยั้งการบุกของกองทัพไทยที่นำโดย'พระยาตาก”และ'พระสรรค์อำมาตย์”ได้ ภายหลังจึงแก้สถานการณ์เป็นฝ่ายมีชัยในที่สุดโดยพงศาวดารไทยระบุว่า'พระยาเพชรบุรี”เสียชีวิตในการรบและ”พระยาตาก”ไปตั้งทัพที่วัดพิชัย.ไม่กลับเข้าเมืองอีก ทิ้งไว้แต่เพียงปมปริศนาที่ว่า เจ้าเมืองสุพรรณบุรีคุยอะไรกับเจ้าเมืองตาก เจ้าเมืองตากถึงไม่ยอมกลับเข้ากรุงศรีอยุธยาอีกเลย
หมายเหตุ พระสรรพ์อำมาตย์เป็นชื่อแม่ทัพของไทยอีกท่านหนึ่งไม่ใช่พระยาเพชรบุรี
ครั้งที่๓เป็นการรบทางเรือในฤดูน้ำหลากมีพระสรรพ์อำมาตย์เป็นแม่ทัพดัง นี้'...แล้วพระองค์ทรงแต่งเรือรบใหญ่บรรทุกพลทหารจุ ๕๐๐คนกับเครื่องศาตราวุฒพร้อมมอบให้พระสรรพ์แล้วทรงจัดเรือรบ ๒๐๐๐ ลำเรือสัมปันนี ๕๐๐ ลำ พลทหาร ๒๕๐๐๐ บรรทุกปืนใหญ่น้อยศาตราวุฒพร้อมเสร็จแล้วมอบให้พระสรรพ์คุมแล้วยกธงไชยไปทาง ทิศตะวันตกที่มหานรทาแม่ทัพล้อมอยู่นั้น...'พระสรรพ์อำมาตย์พ่ายแพ้และถูกจับเป็นเชลย
ครั้นอยู่ประมาณ ๑๐ วันฝ่ายพระเจ้ากรุงศรีอยุธยาจัดให้พระยาธิเบศร์บดีเป็น แม่ทัพคุมเรือรบ ๑๐๐๐ ลำเรือฉลอม ๕๐๐ ลำ บรรทุกพลทหาร ๕๐,๐๐๐ คนแลพร้อมด้วยปืนใหญ่น้อยแลศาตราวุฒทั้งปวงเสร็จแล้วก็ยกธงไชยตีฆ้องกลองแล เป่าแตรสังข์ยกออกมาทางตะวันออกเพื่อจะเข้าตีกองทัพเนเมียวสีหบดีที่ยกมาทาง เชียงใหม่นับเป็นการรบครั้งที่๔และเป็นครั้งสุดท้ายของฤดูน้ำหลากผลเป็นเช่นเดิมคือพระยาธิเบศร์บดีพ่ายแพ้ยับเยินแตกพ่ายเข้ามาในเมือง
ภายหลังเมื่อน้ำลดแห้งแล้วกรุงศรีอยุธยาจัดให้พระยาใต้อมาตย์เป็นแม่ทัพคุมพลช้าง ๓๐๐ปืนใหญ่บรรทุกล้อ ๕๐๐ กระบอก พลทหารราบ ๓๐,๐๐๐ให้พระยาใต้ออกมารบกับมหานรทาที่ตั้งล้อมอยู่ฝั่งตะวันตก แล้วให้พระยาพระนเรศร์เป็นแม่ทัพ คุมพลช้าง ๓๐๐ปืนใหญ่บรรทุกล้อ ๕๐๐ กระบอก พลทหารราบ ๓๐,๐๐๐ให้พระนเรศร์ยกออกมาตีกองทัพเนเมียวสีหบดีที่ตั้งล้อมอยู่ทางทิศตะวัน ออกเฉียงเหนือ นับเป็นการรบครั้งที่๕และเป็นครั้งแรกหลังน้ำลด ผลคือฝ่ายกรุงศรีอยุธยาแตกพ่ายยับเยินทั้งหมดเช่นเคย
ในขณะนั้นพระเจ้ากรุงอังวะมีท้องตราเร่งมาว่าให้แม่ทัพแลนายทัพนายกองทั้งปวงจงตั้งใจรีบเร่งตีกรุงศรีอยุธยาให้แตกโดยเร็วอย่าให้ช้า มหา นรทาและเนเมียวสีหบดีจึงเรียกนายทัพนายกองทั้งปวงประชุมปรึกษากันแล้วมหา นรทาก็เสนอแผนให้สร้างเมืองล้อมกรุงศรีอยุธยาไว้จำนวน ๒๗ เมืองแล้วให้ขุดอุโมงค์ลอดเข้ากรุงศรีอยุธยา '...แล้วมหานรทาแม่ทัพที่ยกมาทางทวายนั้นได้สร้างเมืองทางทิศตะวันตกของ เมืองจตุกามณี ห่างออกไป ๑๐๐๐ เส้นกว้างใหญ่รอบ ๕๐๐ เส้น กำแพงเมืองสูง ๙ ศอก ได้สร้างเมืองรอบพระนครทั้ง๔ด้าน สร้างด้วยอิฐทั้งสิ้น๒๗เมือง ๆนี้ได้ก่อสร้างป้อมคูประตูหอรบไว้ทั้งสิ้นดุจเทวดาลงมานฤมิตรแล้วจัดให้พลทหารเอาปืนใหญ่น้อยศาตราวุธทั้งปวงขนขึ้นรักษาตามป้อมแลหอรบบนเชิงกำแพงโดยแน่นหนา ครั้นจัดเสร็จแล้วแม่ทัพทั้ง๒ก็สั่งให้พลทหารเอาปืนใหญ่ยิงเข้าไปในกำแพงกรุงศรีอยุธยาดุจฝนแสนห่ามิได้ขาดเสียงปืน...'ในการสร้างเมืองล้อมกรุงศรีอยุธยาทั้ง ๒๗ เมืองนั้นมีอยู่ ๒ เมืองที่พม่าให้สร้่างไว้ริมน้ำ..'แล้วทำโซ่กั้นที่ลำแม่น้ำเจ้าพระยา เพื่อมิให้เรือรบต่าง ๆเข้าออกได้'
ในขณะนั้นพวกบรรดาพลหัวเมืองฝ่ายเหนือคือเมืองสวรรคโลก พิษณุโลก สุโขทัย บ้านนาฯลฯได้ยกลงมาช่วยกรุงศรีอยุธยามีช้างรบ ๒๐๐ ม้า๒,๐๐๐ พลทหาร ๒๐,๐๐๐ ยกลงมาตั้งที่ตำบลบ้านคุณตอเป็นทิศเหนือของกรุงศรีอยุธยา ก็ถูกพม่าตีแตกกลับไปอีก ซึ่งนับเป็นการรบกันครั้งที่๖
หลังจากพม่าสร้างเมืองล้อมกรุงศรีอยุธยาแล้วเสร็จ ฝ่ายกรุงศรีอยุธยาได้พยายามดี้นรนต่อสู้อีกครั้ง ในครั้งนี้ได้เกณฑ์กองกำลังผสมของต่างชาติและอยุธยาดังนี้ 'แล้วพระองค์ ทรงจัดเรือกำปั่น ๑๐ ลำ เรือสัมปันนี ๕๐๐ ลำ เรือรบสำหรับพลทหาร๑๐๐๐ ลำ ในเรือรบเหล่านี้พระองค์ทรงจัดแขกเทศ แขกมลายู เกาหลี จีน อยุธยารวมพลทหาร ๖๐๐๐๐ เศษ แล้วพระองค์ทรงมอบอาญาสิทธิ์ให้พระยาเทวะ ๑พระยาสูรเทศ ๑ พระยาประพาศ ๑ พระยามะระกา ๑ ให้อมาตย์ ๔ คนนี้เป็นแม่ทัพคุม...'นับเป็นการรบ ครั้งที่๗ นับแต่พม่าล้อมกรุงศรีอยุธยา
การรบครั้งนี้กรุงศรีอยุธยายกออกไปเป็นทัพเรือจึงเท่ากับวิ่งไปหากับดักของพม่าทันที โดย '...ยก ออกไปตีทางทิศใต้ที่พม่าสร้างเมืองอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาทั้ง ๒ เมืองดังกล่าว เมื่อเรือรบอยุธยาทั้งปวงยกไปถึงก็ติดสายโซ่ซ้่อนกันอยู่เป็นโกลาหล ทหารพม่าทั้ง ๒ ค่ายก็ระดมยิงปืนลงมาจากป้อมแบบไม่ยั้ง ด้านทหารพม่าที่ตั้งอยู่บริเวณริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาทั้ง ๒ ด้านในบริเวณนั้นรวม ๗ ทัพเมื่อได้ยินเสียงปืนก็เอาปืนใหญ่บรรทุกล้อ๑๐๐๐ กระบอก ยกมาช่วยระดมยิงมาจากทั้ง ๒ ฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ฝ่ายเรือรบอยุธยาทั้งหมดจะถอยก็ไม่สะดวกเพราะต้องพายทวนน้ำกลับจะล่องหนีลง ไปข้างล่างก็ไม่ได้เพราะติดโซ่ เรือรบอยุธยาทั้งปวงก็ขวางกันเองติดพันกันยุ่งเหยิงไปหมด เรือจมลงเป็นอันมาก แต่แม่ทัพอยุธยาทั้ง๔ นายใช้เรือเร็ว ๒๐ลำ ตีแหวกหนีทหารพม่ากลับเข้าเมืองได้...'
หมายเหตุ หลัง'พระยาตาก'ฝ่าพม่าออกไปแล้วมีการรบทางเรืออีกครั้งหนึ่งเป็นครั้งที่ ๘ ครั้งนั้น'พระยามนตรี'น้องชายพระมเหสีของพระเจ้าเอกทัศน์ อาสานำทัพไปและพ่ายแพ้เช่นเคย
หลังฤดูน้ำหลากเมื่อพม่าล้อมกรุงศรีอยุธยาจนหมดสภาพ รอรับวันประหารอยู่นั้นพงศาวดารพม่ายังระบุว่า“เพื่อ ทำลายขวัญและกำลังใจของฝ่ายไทย พม่ายอมแม้แต่จะแสร้งส่งกองทัพลอบออกจากค่ายในยามค่ำคืน และส่งกลับเข้าใหม่ในอีกวันหนึ่งเพื่อให้ฝ่ายไทยที่ประจำเชิงเทินเข้าใจว่า ทางพม่าได้ส่งกำลังมาสมทบโดยสม่ำเสมอ' ด้านเสบียงอาหารของพม่านั้น หลังจากน้ำลดได้ไม่นานข้าวที่หว่านไว้ตั้งแต่เริ่มล้อมกรุงก็สุกพม่าจึงเก็บ เกี่ยวเอามาไว้ในค่ายจนไม่ต้องกังวลเรื่องอาหารอีกต่อไป ฝ่ายกรุงศรีอยุธยานั้นเมื่อเห็นว่าคงหมดหนทางที่จะเอาชนะพม่าได้ จึงส่งทูตไปเจรจาขอสงบศึกและยอมเป็นเมืองขึ้นในฐานะเมืองประเทศราช แต่ ปรากฏว่าแม่ทัพพม่าทั้ง๒ต่างยืนกรานขอทำสงครามต่อ เพราะมีพระบัญชากำชับมาจากพระเจ้ามังระตั้งแต่ต้นแล้วว่า '...ให้ทำลายกรุงศรีอยุธยาลงให้สิ้นแล้วให้เก็บริบพลทหารพลเมืองแลทรัพย์สมบัติสาตราอาวุธทั้งสิ้นให้หมด แล้วกลับมายังพระนคร ...”
เมื่อถึงตรงนี้เราจะเห็นได้ว่า“กรุงศรีอยุธยา”ต้องถึงกาลอวสานจากฝีมือของพม่า.โดยไม่อาจหลีกเลี่ยงได้..จริงๆ
ด้าน กรุงศรีอยุธยา หลังจากคณะทูตกลับมาแจ้งข่าวว่าพม่าไม่ยอมรับการขอเป็นเมืองขึ้นจากฝ่ายไทย เพราะ“พระเจ้ามังระ”มีบัญชาให้ทำลายกรุงศรีอยุธยาลงให้สิ้นแล้วให้เก็บริบพลทหารพลเมืองแลทรัพย์สมบัติสาตราอาวุธทั้งสิ้นให้หมดกลับไปยังพม่า...”เท่านั้นก็เกิดโกลาหลอลหม่านปีนกำแพงหนีออกมาขอเข้าเป็นพวกพม่ากันให้วุ่นวาย ส่วนพวกขุนน้ำขุนนางหรือ พวกที่มีฐานะก็เริ่มมีการฝังสมบัติกันอย่างจริงจังพร้อมทั้งทำเครื่องหมาย หรือลายแทงไว้เพื่อจะได้กลับมาเอาในภายหลัง จึงเป็นช่วงที่ชาวอยุธยาหนีออกจากเมืองมากที่สุดเกิดโกลาหลอลหม่านและขาด แคลนอาหารไปทั่ว แบ่งปันอาหารกันไม่เพียงพอสุดท้ายก็หยิบฉวยแย่งชิงสมบัติและอาหารกันซึ่ง หน้า เกิดเหตุวุ่นวายทั่วกรุงศรีอยุธยาหลายวันในช่วงนั้น เป็นเหตุให้เกิดเพลิงไหม้กรุงศรีอยุธยาที่เริ่มจากจุดเล็กๆที่ไม่มีใครให้ ความสนใจจะดับไฟ สุดท้ายก็ไหม้กรุงศรีอยุธยาแทบหมดโดยพงศาวดารระบุว่า“...เพลา เที่ยงคืนประมาณสองยามเศษ เพลิงเกิดในกรุงเทพ มหานครไหม้แต่ท่าทรายตลอดถนนหลวงไปจนถึงวัดฉัททันต์แสงเพลิงรุ่งโรจน์โชตนา การ....”
วันเดียวกันนั้น'พระยาตาก'ได้นำ'พระเชียงเงิน''หลวงพรหมเสนา''หลวงราชสเน่ หา''หลวงพิชัยอาสา''ขุนอภัยภ้กดี'ขุนหมื่นพันทนายและพลทหารรวม ๕๐๐นายตีฝ่ากองทัพพม่ามุ่งสู่หัวเมืองชายฝั่งทะเลตะวันออก เพื่อไปรวบรวมผู้คนมากอบกู้กรุงศรีอยุธยา โดย ที่ไม่มีใครรู้ว่าภายในกองทัพพม่านั้น'มหานรทา'ผู้เป็นแม่ทัพนั้นเสียชีวิต โดยไม่ทราบสาเหตุ กองทัพพม่าทั้งสองทัพตั้งระแวงกันเองอยู่
ตอนต่อไปตีฝ่าวงล้อมพม่า
[ก่อนหน้า][ถัดไป]
.
.
|