กำเนิดชุมนุมเจ้าตากจบบริบูรณ์

เมื่อ 11/06/2013
              สรุปว่า วันที่ ๒๙ มกราคม พ.ศ.๒๓๑๐คือวันที่ “พระยาตาก”ได้เมืองระยองแบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาด หลังจากนั้นก็ประสานสัมพันธ์อันดีกับเมืองจันทบุรี แล้วจึงได้เริ่มซ่องสุมผู้คนจนกระทั่งได้รับข่าวสำคัญ* “..ครั้นอยู่มาวันหนึ่งนายบุญเมือง มหาดเล็ก ผู้รั้งเมืองบางละมุง คุมไพร่ ๒๐ คน ว่าพะม่าใช้ให้ถือหนังสือออกไปเมืองจันทบูรให้แต่งดอกไม้เงินทองเข้าไป ณ โพสามต้น แลพระหลวงขุนหมื่นนายทัพนายกองแจ้งดังนั้นมิได้ไว้ใจ(เกลือก)ว่าเป็นพักพวกพะม่าให้มาด้วยกลอุบายใช้ให้ติดตามเราจะไว้ใจให้อยู่ในกองทัพเรามิได้ ด้วยเอาใจออกหากจากกรุงเทพฯแล้วชอบให้ประหารชีวิตเสีย แลนายบุญรอด แขนอ่อนกราบทูลจะขอเอาไปประหารชีวิตทรงพระกรุณาขอชีวิตไว้แล้วตรัสประภาษด้วยพระราชธิบายว่า พะม่ามาล้อมกรุงเทพฯครั้งนี้ผู้ใดจะตั้งใจเข้าด้วยพะม่านั้นหามิได้ แต่ถึงกาลแล้วหากจำเป็นไป อนึ่งนายบุญเมืองผู้รั้งบางละมุงนี้ได้เป็นข้าใช้เรามาแต่ก่อน เห็นพอจะใช้ได้ราชการอยู่แลราชการเมืองจันทบูรยังมี ผู้รั้งบางละมุงกับพระยาจันทบูรเป็นคนชอบกัน จะให้เอาหนังสือพม่านี้ไปถึงพระยาจันทบูร ๆ ก็จะยกกองทัพ มารับเราเข้าไปคิดราชการด้วยกันตามสัญญา...”

             ได้เคยสรุปให้เห็นแล้วว่าวันที่นายบุญเรืองมหาดเล็กจะมาถึงเมืองระยองนั้นอย่างเร็วที่สุดคือวันที่ ๓๐ เมษายน ๒๓๑๐และ๑๔ มิถุนายน๒๓๑๐ได้เมืองจันทบุรี แสดงว่า พระองค์มีเวลา๔๕วันที่ต้องทำให้ได้ตามพงศาวดารคือ ๑.ประกาศตนเป็นเจ้า๒.ยกไปรบกับขุนรามหมื่นซ่องและยกกลับมาระยอง๓.ยกไปบางปลาสร้อยส่งนายชื่น บ้านไข้และนายบุญรอดแขนอ่อนไปเจรจากับนายทองอยู่ นกเล็ก เมื่อนายทองอยู่ นกเล็กสวามิภักดิ์ตั้งเป็นเจ้าเมืองชลบุรีแล้วยกกลับมาระยองและ๔.ยกไปตีเมืองจันทบุรีการเดินทางไปและกลับหลายเที่ยวขนาดนี้ไม่สามารถทำได้ใน๔๕วันและที่สำคัญคือขั้นตอนการประกาศตนเป็นเจ้า*พระราชพงศาวคารฉบับพระราชหัตถเลขากล่าวถึงคำพูดของท่านไว้ตอนหนึ่งว่า'ตัวเราคิดจะซ่องสุมประชาราษฎรในแขวงหัวเมืองให้ได้มาก แล้วจะยกกลับไปกู้กรุงให้คงคืนเป็นราชธานีดังเก่า แล้วจัดทำนุบำรงสมณพราหมณาประชาราษฎรชึ่งอนาถาหาที่พำนักมิได้ให้ร่มเย็นเป็นสุขานุสุขแล้วจะยอยกพระบวรพุทธศาสนาให้โชคนาการไพบูลย์ขึ้นเหมือนอย่างแต่ก่อน เราจะตั้งตัวเป็นเจ้าขึ้นให้คนทั้งหลายยำเกรงจงมาก ชึ่งจะก่อกู้แผ่นดินจึงจะสำเร็จโดยง่าย ท่านทั้งหลายจะเห็นประการใด' พรรคพวกของท่านก็เห็นชอบด้วยขออธิบายไว้เลยว่ามีขั้นตอนมากมาย เริ่มตั้งแต่คำนวณฤกษ์ผานาที การตระเตรียมพิธีฯแม้แต่พราหมณ์ ผู้ทำพิธีตรงนี้ก็สำคัญ การทำพิธีของพระองค์นี้เป็นสิ่งที่สำคัญมากเพราะจำเป็นที่จะต้องสร้างศรัทธาเพื่อยึดเหนี่ยว แล้วจึงทำพิธี*

               
“...การประกาศยึดเมืองระยองได้กระทำกลางทุ่งท่ามกลาง ไพร่พล และประชาชนชาวเมืองระยองเป็นจำนวนมาก ลองคิดดูว่าอยู่ ๆจะประกาศยึดอำนาจเมืองระยองได้อย่างไรฉะนั้นจึงจำต้องแสดงแสนยานุภาพและอภินิหารให้ประจักษ์เล่ากันว่าเจ้าตากได้ประทับ ณ บริเวณวัดลุ่มมหาชัยชุมพลและได้ประกาศแสดงแสนยานุภาพแล้วก็เกิดพายุหมุนจนท่าให้ต้นตาลต้นหนึ่งหมุน เป็นเกลียว เมื่อพายุหยุดแล้วต้นตาลที่หมุนจึงขดเป็นวงและไม่คลายตัว ปัจจุบันต้นตาลนั้นยังอยู่หน้าวัดป่าประดู่ ชาวบ้านเรียกกันว่า 'ตาลขด' ชาวเมืองระยองทั้งปวงจึงสวามิภักดิ์เจ้าตากโดยพรักพร้อม ทำให้มีกำลังพลเพิ่มขึ้นกว่าเดิมอีกเป็นจำนวนมาก ...”เรียนว่า ผู้เรียบเรียงไม่รู้จักสถานที่และไม่เข้าใจพงศาวดารคือคิดตามที่พงศาวดารบังคับให้คิดว่าอยู่ระยอง๗-๘วันจึงเข้าใจว่าอยู่ที่วัดลุ่มฯตลอดมา แต่เคยเรียนแล้วว่าจุดตาลขดอยู่ที่วัดป่าประดู่(ขณะนั้นร้างอยู่)ประกอบกับชื่อท่าประดู่และป่าประดู่จะเป็นชื่อที่ใช้สลับกันไปมาระหว่างตำบลนี้คือบางสมัยใช้ท่าประดู่บางสมัยเปลี่ยนมาเป็นป่าประดู่แต่สุดท้ายใช้ตำบลท่าประดู่แต่เรียกวัดป่าประดู่ วัดป่าฯกับวัดลุ่มฯไกลกันมากไม่สามารถมองเห็นกันได้..สรุปว่ามีการประกาศตนเป็นเจ้าที่ค่าย'ป่าประดู่'ก่อนจะเปิดฉากการรบกับขุนรามหมื่นซ่องแบบแตกหัก..

             
  ด้วยพงศาวดารลำดับเหตุการณ์สลับกันเพียงนิดเดียวแต่ก่อให้เกิดสิ่งผิดปกติและคำถามมากมายแต่ในที่นี้ขออนุญาตสรุปต่อเลยว่าด้วยพระองค์เป็นยอดนักรบแถมยังได้พระ“มหาชื่น”เป็นที่ปรึกษาชั้นเยี่ยม การประกาศตนเป็นเจ้านั้นมีเหตุและผลดังที่หารือกับทหารจึงได้ข้อยุติแต่ทุกอย่างต้องมีฤกษ์ ผานาทีแล้วพิธีขนาดนั้นทำเป็นเล่นไม่ได้ เหตุที่ต้องย้ำตรงนี้นั้นเพราะเหตุที่ผิดอยู่ตรงนี้นิดเดียวเท่านั้นแต่ก่อให้เกิดคำถามมากมายตามมา คือในความเป็นจริงนั้นต้องทำสัมพันธ์ทางการทูตกับนายทองอยู่นกเล็กก่อนรบกับขุนรามหมื่นซ่องขอย้ำว่าสัมพันธ์ทางการทูตเพราะจุดชี้เป็นชี้ตายของพระองค์อยู่ตรงนี้ ด้วยเคยอธิบายไว้แล้วว่าแค่สัญชาติญาณเอาตัวรอดของมนุษย์พระองค์เปิดฉากรบกับใครก่อนการทูตนี้ไม่ได้เด็ดขาดกล่าวคือไม่ว่าพระองค์จะเปิดฉากรบด้านไหนก็จะถูกอีกด้านยกมารุมตีทันทีเพราะพระองค์แสดงให้เห็นว่าเป็นภัยแล้ว ถ้าคนภาคตะวันออกไม่ช่วยกันก็จะสู้กองทัพของพระองค์ไม่ได้ภัยจะมาถึงตัว การลำดับเหตุการณ์สลับกันเพียงเล็กน้อยในอดีตที่คิดว่าไม่สำคัญนั้นส่งผลเป็นอย่างมากในปัจจุบัน ดังมีตัวอย่างให้เห็นในเหตุการณ์อื่นแม้กระทั่งประชุมพงศาวดารเมื่อมีการลำดับเหตุการณ์ผิดไปจากความจริงก็ได้มีการทักท้วงไว้.ดังนี้.

                  “...พระยาศรีสุริวงศ์ พระยามหามนตรี ให้ประหารชีวิตเสีย แต่กรมหมื่นเทพพิพิธนั้นให้สำเร็จด้วยท่อนจันทน์ตามประเพณีฝ่ายพระยาวรวงศาธิราชนั้นแตกหนีไปเมืองเสียมราบจึงดำรัสให้พระราชรินทร์พระมหามนตรียกกองทัพไปตีเมืองเสียมราบได้ แต่พระยาวรวงศาธิราชนั้นหนีสูญไป พระราชรินทร์ พระมหามนตรีจึงเลิกทัพกลับมากรุงธนบุรี ขณะนั้นโปรดให้พระราชรินทร์เป็นพระยาอภัยรณฤทธิ์ พระมหามนตรีเป็นพระยาอนุชิตราชาจางวางพระตำรวจฝ่ายซ้าย, ขวา โดยความชอบ ณ วัน ๓๑ ค่ำ ปีชวดสัมฤทธิศก เพลาย่ำค่ำแล้วทุ่มหนึ่งมีจันทอุปราคาคาย(๑)ณ วัน ๓๑ ค่ำเพลาเช้าโมงเศษเสด็จออกขุนนางตรัสประภาษเนื้อความจีนเส็งซื้อทองพระพุทธรูปลงสำเภาพระราชสุจริตปรารภตั้งพระอุเบกขาพรหมวิหารเพื่อจะทำนุบำรุงพระบวรพุทธศาสนาแลอาณาประชาราษฎรนั้น อัศจรรย์แผ่นดินไหวเป็นช้านาน
(๒)ณ วัน๗๕ ค่ำ จุลศักราช๑๑๓๐ เพลา๒ ยาม แผ่นดินไหว
อีกครั้งหนึ่ง __________________________________________________ (๑) เป็นวันปราบดาภิเษกตรงกับจดหมายเหตุโหร ในประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๘ และจดหมายเหตุโหร ฉบับพระอมราภิรักขิต (เกิด) วัดบรมนิวาส,ยุติกับข้อความในประชุมพงศาวดารภาคที่๓๙ หน้า ๗๕ และข้อความในคำโคลงเฉลิมพระเกียรติซึ่งนายสวนมหาดเล็ก ประพันธ์ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๑๔
(๒)แผ่นดินไหวครั้งที่๒ เป็นเหตุการณ์ในเดือน ๕ควรจะเรียงไว้ต่อเดือน๔ แต่นี่มาเรียงไว้หน้าเดือน๓ เห็นจะเป็นเพราะต้องการให้เรื่องแผ่นดินไหวมารวมอยู่ด้วยกันจึงไม่เรียงตามลำดับเดือน ๒๘ ณ วัน๑๓ ค่ำ เพลาเช้า๓ โมงเศษเมืองลาวหล่มสักมาสู่โพธิสมภาร ถวายช้าง๑ ม้า ๕ ณ วัน ๑๓ ค่ำ ข้าวสารเป็นเกวียนละ ๒ ชั่ง อาณาประชาราษฏรขัดสน จึงทรงพระกรุณาให้ข้าทูลละอองธุลีพระบาทผู้ใหญ่ ผู้น้อยทำนาปรัง ณ วัน ๒๓ ค่ำ ข้อราชการเมืองกัมพูชาธิบดีเมืองปากน้ำพุทไธมาศบอกเข้ามา จึงทรงพระกรุณาให้พระกรมท่าไปทำค่ายปากน้ำพระประแดง,ท่าจีน, แม่กลอง ขณะนั้นโปรดเกล้า ฯ ให้พระยา อนุชิตราชา......”

 
             จึงสรุปได้ว่าเมื่อข่าวเสียกรุงมาถึง“พระยาตาก”จึงประกาศตนเป็น“เจ้าชุมนุม”เพราะคงยังไม่ได้ปราบดาภิเษกเมื่อถึงตรงนี้ความชอบธรรมเริ่มเกิดขึ้น ภาระของคนไทยในการรบกับพม่าซึ่งพระองค์แสดงเจตนามาตลอดก็มีการขานรับ ในการศึกพระองค์ทราบดีว่ามีกองทัพใหญ่ขนาบอยู่ ทั้งหน้าและหลัง การผูกมิตรกับนายทองอยู่นกเล็กเป็นการยิงปืนนัดเดียวแต่ได้นก๒ตัวคือ๑.พระองค์ต้องการกำลังสำคัญของนายชื่นบ้านไข้ ที่เข้มแข็งที่สุดของแขวงเมืองระยอง ๒.การมอบหมายให้นายชื่นบ้านไข้และนายบุญรอดแขนอ่อนเป็นตัวแทนไปเจรจาให้มาทำการด้วยกันโดยพระองค์ได้ตั้งนายทองอยู่ นกเล็กเป็นเจ้าเมืองชลบุรีโดยที่พระองค์ไม่ต้องระวังหลังในการมุ่งหน้าเข้าสู่เมืองจันทบุรีแม้จะเจรจากับนายทองอยู่นกเล็กแล้วแต่พระองค์ก็เกรงใจนายทองอยู่นกเล็ก มากพอสมควรสังเกตได้จากสิ่งของพระราชทานและการเจรจาพาที*

              “ทรงพระมหากรุณานายทองอยู่ให้เป็นพระยาอนุราฐบุรีศรีมหาสมุทรตั้งขุนหมื่นกรมการตามฐานาศักดิ์ เมืองชลบุรีแล้วพระราชทานกระบี่บั้งเงินหนึ่งเสื้อแพรเข้มขาบดอกใหญ่พื้นแดงดุมทองเก้าเข็มขัดทองประดับพลอยสายหนึ่งแล้วพระราชทานราโชวาทสั่งสอนว่า แต่ก่อนท่านประพฤติ การอันเป็นอาธรรมทุจจริตนั้นจงละเสีย จงประพฤติกุศลสุจริต ให้สมควรด้วยฐานาศักดิ์แห่งท่านจะได้เป็นเกียรติยศสืบไปใน กัลปาวสานจะเป็นวาสนา ติดตามไปในอนาคต แล้วจึงพระราชทานเงินตราไว้สองชั่ง สำหรับสงเคราะห์แก่สมณพราหมณาจารย์ ประชาราษฎรผู้ยากไร้เข็ยใจ ซึ่งชัดสนด้วยเข้าปลาอาหารนั้น จึงตรัสสั่งพระยาอนุราฐว่า ผู้ใดจงใจอยู่ในสำนักท่าน ท่านจงโอบอ้อมอารีเลี้ยงดูไว้ให้เป็นผลถ้าผู้ใดมีน้ำใจสวามิภักดิ์จะติดตามเราออกไป ท่านจงอย่ามีน้ำใจอิจฉา จงมีมุทิตาปราโมทย์อย่าได้ขัดขวางช่วยส่งผู้นั้นออกไปให้ถึงสานักแห่งเรา อย่าให้เป็นเหตุการณ์ประการใดได้ และท่านจงบำรุงพุทธศาสนา อาณาประชาราษฎรให้ทำมาหากินโดยภูมิลำเนา อย่าให้มีโจร และผู้ร้ายเบียดเบียนแก่กันได้...”

             หลังจากนั้นพระองค์จึงเปิดฉากรบกับขุนรามหมื่นซ่องด้วยเหตุผล๒.ประการคือ
            ๑.พรรคพวกของนายบุญรอดแขนอ่อน นายหมวด นายบุญมาน้องเมียเจ้าเมืองจันทบุรีและนายชื่นบ้านไข้ ที่จะมาเข้าร่วมกับพระองค์ถูกขุนรามหมื่นซ่องขัดขวางไว้พร้อมข้าวปลาอาหาร ไม่สามารถเข้ามาร่วมกับพระองค์ได้จึงเป็นการสั่งสอนให้หลาบจำพร้อมทั้งช่วยให้พรรคพวกของ“ขุนทหาร” ทั้ง๔ที่เป็นชาวระยอง ได้เข้ามาร่วมกับพระองค์ได้ทั้งกำลังพลและอาหาร ต่อมาคือ
๒.การตัดกำลังสำคัญเจ้าเมืองจันทบุรี เพื่อที่เมืองจันทบุรีจะได้เข้าร่วมกับพระองค์โดยง่าย..แต่ไม่ว่าอย่างไรคนเฒ่าคนแก่ในพื้นที่เมืองแกลงที่เล่าขานเป็นตำนานมาตลอดว่า
“รบกันขั้นตะลุมบอนศพมากขนาดทุกวัดช่วยกันยังเผาไม่ทันต้องฝังไว้ก่อนแล้วขุดมาเผาและเจ้าตากถึงกับเสียขุนทหาร” ในการนั้นพระองค์ก็ได้ขุมกำลังเพิ่มจาก “..นายบุญมีบางเหี้ย นายแทน นายมี นายเมืองพะม่า นายสนหมอนายบุญมีบุตรนายสนหมอ.”

               หลังจากนั้นพระองค์จึงยื่นคำขาดกับเมืองจันทบุรีทันทีว่าถ้าจะเข้ากับพระองค์ต้องส่งขุนรามหมื่นซ่องมาและให้เจ้าเมืองจันทบุรีออกมาต้อนรับนอกเมือง.แต่ทั้ง๒ข้อเจ้าเมืองจันทบุรีไม่สามารถสนองตอบได้คือ.การส่งตัวขุนรามหมื่นซ่องไปให้เจ้าตาก(ถือว่าเป็นศัตรู)คนในภูมิภาคนี้ไม่ทำ และ๒.เจ้าเมืองจันทบุรีกลัวในวิธีการของ “เจ้าตาก” นับแต่เหตุการณ์เรียกตัวผู้รั้งเมืองระยองให้มาพบแล้วควบคุมตัวเจ้าเมืองจันทบุรีก็ไม่มั่นใจในความปลอดภัยหากออกมารับซึ่งนับว่าเจ้าเมืองจันทบุรี “อ่านออก” เพราะตอนที่จะประหารนายทองอยู่นกเล็ก พระองค์ก็ให้มาเฝ้า ณ เรือพระที่นั่งแล้วก็ประหาร ซึ่งเหตุการณ์ตรงนี้จะอธิบายถึงความเก่งของนายทองอยู่นกเล็กและนายชื่นบ้านไข้ เพื่อนร่วมน้ำสาบาน ดังนี้ “...ให้หาพระยาอนุราฐลงมาเข้าเฝ้า ณเรือพระที่นั่งตรัสถามก็รับเป็นสัตย์ จึงสั่งให้ขุนนางนายทหารไทยจีนจับพระยาอนุราฐประหาร ชีวิตเสีย และพระยาอนุราฐคงกระพันในตัว แทงฟันหาเข้าไม่ เพราะด้วยสะดือเป็นทองแดง จึงให้พันธนาการแล้วเอาลงถ่วงน้ำเสียในทะเลก็ถึงแก่กรรม แล้วให้จับหลวงพลและขุนอินเชียง ซึ่งร่วมคิดกระทำโจรกรรมด้วยกันนั้นประหารชีวิตเสีย...”แหละนี่คือวิชาคงกระพันชาตรีของคนภูมิภาคตะวันออก...

              หลังจากนั้น “ยุทธการทุบหม้อข้าว”อันโด่งดังจึงเกิดขึ้นเป็นตำนานให้เล่าขานจนถึงปัจจุบัน ..จะเห็นได้ว่าเวลา ไม่เกิน ๔๕ วัน พระองค์สามารถยึดเมืองจันทบุรีเป็นฐานที่มั่นได้ “ชุมนุมเจ้าตาก”จึงเริ่มตั้งมั่นหลังจากนี้แต่ที่ปฏิเสธไม่ได้คือการประกาศตนเป็นเจ้าชุมนุมนั้นกระทำที่ค่ายท่าประดู่ซึ่งคือบริเวณวัดป่าประดู่ในปัจจุบัน“ชุมนุมเจ้าตาก” จึงถือกำเนิดที่จุดนั้นแต่ที่สำคัญการยึดเมืองจันทบุรีที่มีความพร้อมกว่าในทุกด้านเป็นฐานที่มั่นนั้น กำลังสำคัญอันนอกเหนือจากทหารเมืองตากที่ยกตามกันมาซึ่งไม่เพียงพอที่จะหักเอาเมืองจันทบุรีได้โดยง่ายพระองค์ได้กองกำลังสำคัญจาก๒.หัวเมืองคือ
๑.หัวเมืองระยองโดยได้จากกองกำลังของ๔นักรบ คือนายบุญรอด
แขนอ่อน นายหมวด นายบุญมาน้องเมียพระยาจันทบุรี นายชื่นบ้านไข้และ
๒.หัวเมืองแกลงได้กำลังจากนายบุญมีบางเหี้ย นายแทน นายมี นายเมืองพะม่า นายสนหมอ นายบุญมีบุตรนายสนหมอ

               และต้องรวมถึง“สมเด็จพระสังฆราชชื่น”
แห่งวัดหงส์ ที่คอยเกื้อหนุนพระองค์ตลอดมา เขาทั้งหลายเหล่านี้มีส่วนสำคัญในการเริ่มต้นกู้ชาติบ้านเมืองและมีหลักฐานอันปรากฏชัดเจนว่าบางท่านก็ร่วมรบกับสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีจนตัวตาย.อาทิเช่นนายหมวดขุนพลผู้เงียบขรึมรุ่นแรกซึ่งต่อมาเติบโตในกองพระอาจารย์(พวกนักรบจรยุทธไม่มีชั้นยศ)ท่านพลีชีพในการรบที่บางกุ้ง*

               และท่านต่อมานั้น ท่านร่วมรบกับสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีจนผลัดแผ่นดินและท่านไม่ประสงค์ที่จะรับราชการอยู่ต่อไปจึงได้ขออนุญาตพระเจ้าแผ่นดินพระองค์ใหม่ บวชเป็นพระและกลับมาจำพรรษาที่วัดบ้านกร่ำแขวงเมืองแกลงบ้านเกิดของท่าน แต่เมื่อบวชได้เพียง๓พรรษา(๓ปี)ก็มีหมายตราตั้งมาจากเมืองหลวงแต่งตั้งให้เป็นที่พระครูตำแหน่งเจ้าอาวาส แต่นักรบมีชื่อ(แต่นิรนาม) ท่านนี้คงไม่มีตำนานปรากฏให้เห็นเป็นที่กล่าวขานจนถึงวันนี้ หากท่านไม่มีลูกชายเป็นมหากวีของโลกที่ชื่อ'สุนทรภู่'ซึ่งบันทึกการเดินทางมาหาพ่อของตนไว้ในนิราศเมืองแกลง ว่าพ่อของท่านมาบวชเป็นเจ้าอาวาสที่วัดบ้านกร่ำนี้ และก็เป็นท่านสุนทรภู่มหากวีเอกของโลกเป็นผู้มาทวงความชอบธรรมให้กับบิดาของท่านจึงทำให้เราได้ทราบความจริงว่าพ่อของท่านนั้นเป็นที่โปรดปรานของพระเจ้าแผ่นดินทั้ง๒พระองค์มิฉะนั้นคงไม่มีตำนานการบวช๓ปี(พรรษา)เป็นที่พระครูเจ้าอาวาส ท่านอารักษ์ภู่ท่านได้บรรยายไว้ว่า 'เจ้าภิภพศาสตราท่านให้'นอกจากนั้นยังทำให้เราทั้งหลายทราบว่าพ่อของสุนทรภู่ ไม่ประสงค์ที่จะรับราชการต่อเช่นเดียวกับพระยาพิชัย(ดาบหัก)แต่พระเจ้าแผ่นดินพระองค์ใหม่ก็มิได้ประหารพ่อของสุนทรภู่ย่อมแสดงว่าเป็นที่โปรดปรานเพราะแม้ว่าบวชได้๓ปีแล้วพระเจ้าแผ่นดินพระองค์ยังแต่งตั้งให้เป็น'พระครูเจ้าอาวาส'แต่ท้ายที่สุดท่านเลือกที่จะขอกลับมาตาย(มรณะภาพ)ที่บ้านเกิดอย่างสงบและเรียบง่าย....และหากท่านเป็นหนึ่งในกลุ่มนักรบแขวงเมืองแกลงที่อาสาเข้าร่วมรบเมื่อครั้งนั้นและเมื่อเทียบอายุของท่านแล้ว พ่อของสุนทรภู่คงจะเป็นนายบุญมีบุตรนายสนหมอผู้นั้นหรือเป็นนักรบท่านอื่นที่ไม่ปรากฏนาม แต่ไม่ว่ากรณีใดๆท่านทั้งหลายเหล่านั้นยังไม่เคยได้รับเกียรติยศใดๆให้สมกับการเสียสละของพวกท่าน


             และ หากผู้ที่ศรัทธาในวีรกรรมอันกล้าหาญของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้มีโอกาส อ่านพบข้อความเหล่านี้ ขอจงตั้งจิตรำลึกถึงคุณงามความดีที่ขุนศึกเหล่านี้ได้กระทำไว้บ้าง เพื่อดวงวิญญาณบนสรวงสวรรค์ของพวกท่านจะได้นอนหลับอย่างมีความสุข..ตลอดกาล


...ด้วยจิตคารวะข้าพเจ้านายภีมเดช อมรสุคนธ์..ขอทำหน้าที่กล่าวขานตำนานวีรกรรมของเหล่าบรรพชนผู้ล่วงลับ

                                                              
  กำเนิดชุมนุมเจ้าตาก จบบริบูรณ์


                                                                     [ก่อนหน้า][กลับหน้าแรก]