เส้นทางเดินทัพ

เมื่อ 11/06/2013
                                                                       เส้นทางเดินทัพ
 

ขึ้น ๔   ค่ำ เดือนยี่ ปีจอ จุลศักราช ๑๑๒๘ ออกจากอยุธยา ๓ ม.ค.๒๓๑๐ไปทางบ้านข้าวเม่า เที่ยงคืนเศษ ถึงสัมบัณฑิต
ขึ้น ๕   ค่ำ เดือนยี่ เช้ารบกับพม่าที่โพสาวหาร ยกไปประทับแรมบ้านพรานนกก่อนพักทัพรบพม่าจากบางคาง ๔ ม้าแซงล่อปีกกา
ขึ้น ๖   ค่ำ เดือนยี่  เช้าขุนชำนาญไพรสณฑ์สวามิภักดิ์ถวายช้าง(พลาย ๕ พัง๑ )พักบ้่านดง
ขึ้น ๘   ค่ำ เดือนยี่ ตีบ้านดงแตก ได้ช้างพลายช้างพังอีกรวม๗ ช้าง ๗ ม.ค.๒๓๑๐
ขึ้น ๙   ค่ำ เดือนยี่ ยกพลทหารออกมาประทับตำบลหนองไม้ทรุง ๘ ม.ค.๒๓๑๐
ขึ้น ๑๑ ค่ำ เดือนยี่ บ้านนาเริ่ง
ขึ้น ๑๒ ค่ำ เดือนยี่ ฝั่งตะวันออกของด่านกบแจะแขวงเมืองปราจีนบุรี
ขึ้น ๑๓ ค่ำ เดือนยี่ สำนักหนองน้ำ พระเชียงเงินมาสมทบ พม่ามาจากปากน้ำเจ้าโล้ ตั้งวงล้อมกับดักเสือ ล่อยิงทหารพม่าไปสามชุด พม่าไม่มารบกับพระองค์อีกเลย
แรม ๒  ค่ำ เดือนยี่ บ้านหัวทองหลาง
แรม ๓  ค่ำ เดือนยี่ พานทอง
แรม ๔  ค่ำ เดือนยี่ บางปลาสร้อย
แรม ๕  ค่ำ เดือนยี่
.“ถึงบ้านนาเกลือ นายกลมคุมไพร่พลทหารอยู่ที่นั้น คอยสกัดคิดประทุษร้าย จึงทรงช้างพระที่นั่งสรรพด้วยเครื่องสรรพยุทธ ทรงพระแสงปืนต้นรางแดงกับด้วยหมู่โยธาทหารเข้าไปในระหว่างทหารนายกลมอยู่นั้นด้วยเดชบรมโพธิสมภาร นายกลมและพวกโยธาทหารทั้งนั้น ให้สยดสยองกลัวพระราชอานุภาพวางศัสตราวุธเสีย แล้วถวายบังคมอ่อนน้อมเป็นข้าใต้ละอองธุลีพระบาท จึงนำเสด็จดำเนินเข้าไปประทับในสถานอันสุขสมควร แล้วพระราชทานราชทรัพย์และราโชวาทให้ตั้งอยู่ในยุติธรรม'
“ครั้นรุ่งขึ้น ณ แรม ๖ ค่ำเดือนยี่ พักกองทัพที่ พัทยา ๒๐ ม.ค.๒๓๑๐
แรม ๗ ค่ำเดือนยี่ พักกองทัพที่ นาจอมเทียน ๒๑ ม.ค.๒๓๑๐
แรม ๘ ค่ำเดือนยี่ พักกองทัพที่ ทุ่งไก่เตี้ย ๒๒ม.ค.๒๓๑๐
แรม ๙ ค่ำเดือนยี่ พักกองทัพที่ สัตหีบ ๒๓ม.ค.๒๓๑๐
แรม ๑๐ ค่ำเดือนยี่พักกองทัพที่ ชายทะเล ๒๔ ม.ค.๒๓๑๐

(ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของวัดพลา ตำบลพลา อ.บ้านฉาง-มีหลักฐานเป็นบ่อน้ำเก่าเหลืออยู่)
แรม ๑๑ค่ำ เดือนยี่ พักกองทัพที่ บ้านหินโด่ง(หินโค่งหรือหินโข่ง) ๒๕ ม.ค.๒๓๑๐
ปัจจุบันคือ “บ้านสะพานหิน” หมู่ที่๘ ตำบลทับมา อำเภอเมือง จังหวัดระยอง

ที่บ้านนี้มีเอกลักษณ์คือมีหินก้อนใหญ่ๆ(โค่ง-โข่ง) อยู่ประปรายในพื้นที่ ทั้งที่บริเวณนั้นเป็นทุ่งนาและพื้นที่ใกล้เคียงไม่มีหินปรากฏให้เห็น และ มีหินที่แข็งแกร่งมาก๑ก้อนขวางทางสัญจรหลักและขวางทางน้ำอยู่ ภายหลังชาวบ้านจึงช่วยกันสกัดหินทั้งก้อนเป็นสะพานมีลักษณะสะพานที่เป็นหิน แผ่นเดียวกว้างประมาณ๓-๔เมตร นานมาชาวบ้านเรียก“บ้านสะพานหิน”ตามชื่อสะพานจนถึงปัจจุบันและตำบลนั้นจึง เรียกว่า”ตำบลกองทัพมา”แต่คนระยองจะพูดสั้นๆและห้วนๆนานเข้าก็เหลือแค่'ทัพ มา'(เขียนทับมา)ตาม ความเคยชิน สะพานนั้นชาวบ้านใช้สัญจรไปมาจนถึง พ.ศ.๒๕๒๕ น้ำท่วมใหญ่ พัดพาดินทรายท่วมสะพานหมด ปัจจุบันทางน้ำอยู่เหนือบริเวณสะพานที่จมอยู่ใต้ดิน

แรม ๑๒ ค่ำ เดือนยี่ พักกองทัพที่ บ้านเก่า(พงศาวดารเรียกน้ำเก่า)๒๖ ม.ค.๒๓๑๐
แรม ๑๓ ค่ำ เดือนยี่ ๒๗ ม.ค.๒๓๑๐ผู้รั้งเมืองระยองและคณะมาต้อนรับมอบอาหาร ๑ เกวียน นำพระยาตากไปพักที่วัดลุ่ม
แรม ๑๕ ค่ำ เดือนยี่ ๒๙ มกราคม นายบุญรอดแขนอ่อน นายหมวด นายบุญมาน้องเมียพระยาจันบุรีมาแจ้งข่าว จึงให้จับเจ้าเมือง
ขึ้น ๙  ค่ำ เดือนสาม ย้ายค่ายมาพักที่ท่าประดู่(
ปัจจุบันคือวัดป่าประดู่)ตั้งทัพจนย้ายไปเมืองจันทบุรี


  เส้นทางเดินทัพ
                             
                 เหตูการณ์ช่วงนี้ถ้าดูเส้นทางเดินทัพอย่างละเอียดจะพบว่าเมื่อพบพระเชียงเงินและหมดเขตพม่าแล้ว..ก็เข้าเขตหัวทองหลาง พานทอง บางปลาสร้อย.ถ้าดูตามแผนที่ดูหมือนพระองค์ไม่มีเจตนาที่จะตรงไปจันทบุรี แต่เจตนามุ่งลงไปทางทะเลมากกว่า..แต่พอถึงทะเล..ก็ใช้เส้นทางเรียบชายฝั่งไปตลอดไม่มีเจตนาตัดตรงไปจันทบุรีแต่อย่างใดอีกทั้งไม่ปรากฏว่าพระองค์มีเจตนาที่จะพักที่หนึ่งที่ใดเป็นการเฉพาะ.และคงเลี่ยงเมืองหรือชุมชนทั้งหมด โดยเฉพาะบางปลาสร้อยซึ่งเป็นชุมชนที่ใหญ่ที่สุดในละแวกนั้นพระองค์ก็เลี่ยงไป เพราะทางบางปลาสร้อยไม่มีการเตรียมทหารไว้ต่อสู้  ซึ่งต่างจากนาเกลือที่มีทหารเพียงเล็กน้อยก็ยังเตรียมกันออกมาเพื่อจะรบกับพระองค์ จริงๆแล้วหลุดจากบางปลาสร้อยบางละมุงนั้นน่าจะมีคนมากกว่านาเกลือ(อย่างน้อยก็พอกัน) แต่พระองค์ก็ยังเลี่ยงๆไป

                 .เหตุนายกลมบ้านนาเกลือคงเป็นอุบัติเหตุแต่ก็บอกความจริงอย่างน้อย ๓ เรื่อง คือ
           ๑.พระองค์ เหลือทหารน้อยเต็มทน มิเช่นนั้นนายกลมฯที่มีกำลังคนไม่เกิน๒-๓๐๐คงไม่กล้ายกทัพออกมาตั้งรับถึงกลางทาง
           ๒.ลักษณะจัดทัพแบบทหารที่มีวินัยบวกกับการประดับประดาช้างศึกและการแต่งเครื่องแบบชั้น'พระยา'เต็มยศบนหลังช้างของพระองค์บ่งบอกความเป็นอารยะโดยมีเจตนาจะสื่อให้เห็นว่าเป็นทัพจากส่วนกลางมิใช่กองโจรเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุเหมือนกรณีบ้านดง.และ
          ๓.ไม่มีเจตนาที่จะรบกับไทยด้วยกันเองแล้วจึงใช้วิธีเลี่ยงๆเอา โดยก่อนเข้าเขตชลบุรีนั้นพระองค์ก็ประดับประดาช้างศึกแล้ว ช้างทั้ง ๑๓ เชือก ที่ตกแต่งชุดออกศึกบวกกับการเดินทัพอย่างมีวินัยของทหารย่อมเป็นการประกาศตนโดยปริยาย ประกอบกับการส่งทหารไปป่าวประกาศล่วงหน้าและพักแต่นอกเมืองทำให้ไม่มีเมืองไหนเตรียมตัวหรือตั้งทัพสู้ บางปลาสร้อยนั้นต้องเดินทางผ่านอยู่แล้วแต่ไม่ปรากฏว่ามีเหตุการณ์อะไร ผิดกับตอนที่พระองค์ประกาศตนเป็นเจ้าชุมนุมแล้วยกทัพมาปราบบางปลาสร้อย นายทองอยู่นกเล็ก ก็จัดทัพเตรียมสู้ ไม่ได้เกรงกลัวคือขอสวามิภักดิ์แต่อย่างใด การที่นายทองอยู่นกเล็ก เข้าร่วมกับพระองค์และยอมรับตำแหน่งเจ้าเมืองชลบุรีนั้นเป็นเหตุผลพิเศษของคนภาคตะวันออก โดยจะขออธิบายในภายหลังเมื่อถึงเหตุการณ์นั้น

                 ากนาเกลือพระองค์ก็ไม่ได้ปะทะกับใครจนถึงระยองและหากดูแผนที่จะเห็นว่าก่อนถึงสัตหีบนั้นพระองค์สามารถตัดตรงไปจันทบุรีได้เลยไม่จำเป็นต้องผ่านระยองและเมื่อเข้าเขตระยองตั้งแต่
พักชายทะเล(พลา)และบ้านหินโด่ง พระองค์ก็สามารถตัดเข้าระยองได้เลยไม่ต้องเลยไปบ้านเก่า (น้ำเก่า) และที่ต้องแปลกใจคือผู้รั้งเมืองระยองมิได้เตรียมที่จะต่อสู้กับพระองค์แถมยังนำอาหารไปมอบให้พระองค์อีก๑เกวียน ต้องขอย้ำว่าพระองค์ยังไม่ได้ประกาศตนเป็นเจ้า(ชุมนุม) พระองค์มีฐานะเป็น“พระยาตาก”หรือ“พระยาวชิรปราการ”ซึ่งมิได้แตกต่างกันนักกับ“พระยาจันทบุรี”ผู้เป็นใหญ่แห่งหัวเมืองชายทะเลฝั่งตะวันออก การกระทำของผู้รั้งเมืองระยองต้องถือว่าผิดปกติมากหากมิได้อธิบายเหตุผลว่าแท้จริงแล้วพระองค์ได้ส่งทหารมาเจรจากับผู้รั้งเมืองระยองก่อนแล้ว และไม่มีเจตนาเข้าเมืองระยองเช่นเดียวกับที่ปฎิบัติมากับเมืองอื่นๆ ทำให้ผู้รั้งเมืองระยองนำอาหารมามอบให้ ถือว่าเป็นแนวปฏิบัติของผู้คนในภูมิภาคตะวันออก ที่มักแสดงน้ำใจในการมีส่วนร่วมแบบนี้เสมอโดยจะเห็นได้ว่าทั้งระยองและจันทบุรีได้แสดงน้ำใจนำอาหารมามอบมากน้อยแล้วแต่ความสามารถของตน

ตอนต่อไป ประกาศตนเป็นเจ้า


                                                                                        [ก่อนหน้า][ตอนต่อไป]